วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

โรเบิร์ต บอยล์ : Robert Boyle
เกิด        วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ (Munster) ประเทศไอร์แลนด์ (Ireland)
เสียชีวิต วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน   - ตั้งกฎของบอยล์ (Boyle's Law) ว่าด้วยเรื่องความดันอากาศ

          บอยล์เป็นนักเคมีคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกงานด้านเคมีอย่างจริงจัง ผลงานของเขา
มีประโยชน์มากต่อวงการวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า กรค้นพบธาตุ การเผาไหม้ของโลหะ อีกทั้งเขาเป็นผู้ปรับปรุงเทอร์มอมิเตอร์ให้มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และประดิษฐ์หลอดแก้วสุญญากาศ ไม่เฉพาะงานด้านเคมีเท่านั้นที่สร้างชื่อเสียงให้กับบอยล์ งานด้านฟิสิกส์
เขาก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎของบอยล์ เป็นทฤษฎีที่สร้างคุณประโยชน์มากมาย และ
เป็นรากฐานของการประดิษฐ์เครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ หลายชนิดเช่น เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องพ่นลม เครื่องยนต์ที่ใช้แรงกดดันของก๊าซ
และเครื่องยนต์แบบจุดระเบิดภายใน

          บอยล์เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ ประเทศไอร์แลนด์ บอยล์เป็นบุตรชายคนสุดท้ายของท่านเอิร์ล
แห่งคอร์ด (Earl of Cord) ซึ่งเป็นขุนนางผู้มั่งคั่ง ทำให้บอยล์มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี และมีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าทาง
วิทยาศาสตร์ได้อย่างเต็มที่เนื่องจากบิดาของเขาก็ชื่นชอบเรื่องวิทยาศาสตร์เช่นกัน บอยล์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่วิทยาลัยอีตัน
(Eton College) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนนี้เขาได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ละติน และ
ฝรั่งเศส นอกจากนี้เขาได้เรียนภาษากรีก และฮิบรูด้วย เมื่อบอยล์อายุได้ 14 ปี บิดาของเขาได้ส่งเขาไปเรียนภาษาอิตาลี ที่ประเทศ
อิตาลี ระหว่างที่บอยล์ได้เรียนที่ประเทศอิตาลี เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่งชื่อว่า เรื่องประหลาดของ
นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่เขียนโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ทำให้เขามีความสนใจใน
เรื่องวิทยาศาสตร์ และตั้งใจว่าจะต้องเรียนต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป บอยล์เดินทางกลับประเทศไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1644
ปรากฏว่าบิดาของเขาเสียชีวิตพร้อมกับทิ้งมรดกเป็นที่ดิน และปราสาทในสตอลบริดจ์เซทไซร์ (Stallbridge Doe Setshire)
ไว้ให้เขา บอยล์ได้เดินทางกลับไปที่ประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง เพื่อศึกษาต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด
(Oxfoerd University)

          หลังจากจบการศึกษา บอยล์ได้กลับบ้านและทำการทดลองค้นคว้าอย่างจริงจัง งานชิ้นแรดที่บอยล์ให้ความสนใจคือ ผลึก
เพราะบอยล์ต้องการหาส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ จากการศึกษาบอยล์พบว่า ผลึกบางชนิดเกิดจากส่วนผสมและสารประกอบทาง
เคมีบางชนิด ต่อมาเขาเริ่มศึกษาเกี่ยวกับเครื่องวัดความกดอากาศ จากผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน โดยเริ่มต้น
จากเทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอ แต่เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้ใช้น้ำในการวัดซึ่งยังวัดอุณหภูมิได้ไม่ถูกต้องแม่นยำนัก บอยล์ได้นำ
เทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอมาปรับปรุงให้มีประสิทะภาพมากขึ้นโดยใช้ปรอทแทนน้ำ

          ต่อมาบอยล์ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับความกดอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในเวลานั้นว่า อากาศมีน้ำหนักหรือไม่
และสภาพไร้อากาศหรือสุญญากาศเป็นไปได้หรือไม่ ในปี ค.ศ. 1657 บอยล์ได้อ่านหนังสือของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันท่านหนึ่ง
ชื่อว่าออตโต ฟอน เกริเก (Otto von Guericke) เกี่ยวกับเครื่องสูบอากาศที่เขาประดิษฐ์ขึ้น บอยล์ได้นำเครื่องสูบอากาศของ
เกริเกมาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความดันอากาศ โดยร่วมมือกับโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) และในปี ค.ศ. 1659 เขาก็สามารถ
ปรับปรุงเครื่องสูบอากาศของเกริเกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้นำเครื่องสูบอากาศนี้มาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์
ระหว่างก๊าซกับความดัน นอกจากนี้เขาได้สร้างห้องทดลองสุญญากาศขึ้นด้วย

          ในการทดลองครั้งแรกบอยล์ได้นำบารอมิเตอร์ใส่ลงไปในห้องทดลองสุญญากาศ จากนั้นเขาจึงใช้เครื่องสูบอากาศสูบอากาศ
ในห้องทดลองออกทีละน้อย ๆ ปรากฏว่าปรอทในบารอมิเตอร์สูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งสูบอากาศออกไปมากเท่าไรปรอทก็ยิ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้บอยล์ยังได้แขวนนาฬิกาไว้ในห้องนั้น เมื่อนาฬิกามีเสียงดังขึ้นเพียงครั้งเดียวก็หายไป แสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่มีอากาศ
เสียงก็ไม่สามารถดังได้ จากการทดลองครั้งนี้บอยล์สรุปว่าอากาศมีแรงดัน และเสียงไม่สามารถเดินทางได้ในที่ที่ไม่มีอากาศ
ผลจากการทดลองครั้งนี้บอยล์ได้นำมาตั้งเป็นกฎชื่อว่า กฎของบอยล์ (Boyle's Law) กฎนี้กล่าวว่า ถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่
อุณหภูมิของก๊าซจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นปฏิภาคกลับกันกับความดัน หรือถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่ ความดันคงที่ อุณหภูมิก็จะคงที่
สามารถสรุปกฎข้อนี้ได้ว่าปริมาตรของก๊าซจะเพิ่ม - ลด ในอัตราส่วนที่เท่ากันเสมอ เช่น ถ้าเพิ่มความกดดันขึ้นเป็น 1 เท่า ปริมาตร
ของอากาศจะลดลง 1 เท่า แต่ถ้าเพิ่มความกดดันเป็น 2 เท่า ปริมาตรของอากาศจะลดลงเป็น 2 เท่า ซึ่งกฎของบอยล์เป็นกฎที่ได้รับ
การยกย่องกันมากในวงการฟิสิกส์ บอยล์ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1660 โดยใช้ชื่อหนังสือว่า New Experiment
Physic Mechanical, Touching the spring of the Air, and its Effects เมื่อหนังสือเผยแพร่ออกไปกลับได้การ
ตอบรับที่ไม่ดีนัก คนส่วนใหญ่มักเห็นว่ากฎของบอยล์เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

           ดังนั้นเขาจึงทำแสดงการทดลองครั้งใหญ่เพื่อแสดงให้คนได้เห็นความจริงข้อนี้ โดยการสร้างหลอดแก้วรูปตัวเจที่มีขนาด
ความสูงถึง 12 ฟุต ส่วนปลายที่งอขึ้นมีความสูง 5 ฟุต ปิดทางส่วนปลายไว้ แล้วนำไปติดตั้งไว้บริเวณบันไดบ้านของเขา จากนั้น
จึงเริ่มทำการทดลองโดยการเทปรอทใส่ลงในหลอดแก้ว ในขั้นต้นปริมาณปรอทอยู่ในระดับที่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง จากนั้นจึงเทปรอท
เข้าไปในส่วนบนแล้วรีบผิดฝา และทำซ้ำเหมือนเช่นนั้นอีกหลายครั้งจนเห็นได้ชัดเจนว่าปรอทในข้างที่งอขึ้น มีระดับของปรอท
สูงกว่าอีกด้านหนึ่ง ผลการทดลองครั้งนี้ทำให้ผู้ที่มาเฝ้าดูการทดลองครั้งนี้เห็นและเข้าใจในกฎของบอยล์

           ในปี ค.ศ. 1661 บอยล์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า The Sceptical Chemist ซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านทฤษฎีของ
อาริสโตเติลในเรื่องของส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ อาริสโตเติลกล่าวว่าธาตุทั้งหลายในโลกประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม และไฟ
รวมถึงทฤษฎีของพาราเซลลัสที่ว่าธาตุประกอบไปด้วย ปรอท กำมะถัน และเกลือ บอยล์มีความเชื่อว่าธาตุทั้งหลายในโลก
ประกอบไปด้วยสารประกอบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องได้รับการทดสอบเสียก่อนจึงจะรู้ได้ว่าธาตุชนิดนั้นประกอบไปด้วยสาร ชนิดใดบ้าง
ไม่ใช่ตามทฤษฎีของอาริสโตเติลและพาราเซลลัส หนังสือของบอยล์เล่มนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากผู้คนที่เคยมี ความเชื่อถือในทฤษฎีเก่าของอาริสโตเติล เมื่อได้อ่านหนังสือของบอยล์แล้วก็มีความคิดที่เปลีรี่ยนไป ต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได ้
นำวิธีการของบอยล์ไปทดลอง ก็สามารถค้นพบธาตุใหม่ ๆ อีกจำนวนกว่า 100 ชนิด

           บอยล์ไม่ได้หยุดยั้งการค้นคว้าของเขาเพียงเท่านี้ เขายังทำการทดลองวิทยาศาสตร์ในแขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขา ไม่ว่าจะ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตและเสียง ในเรื่องของความเร็วของเสียงตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงปลายทาง และโครงสร้างของผลึกต่าง ๆ
ส่วนวิชาเคมีบอยล์ก็ยังให้ความสนใจและทำการทดลองค้นคว้าอยู่เสมอ ซึ่งการทดลองครั้งหนึ่งของบอยล์ เกือบทำให้เขาค้นพบ
ก๊าซออกซิเจน แต่เขาก็พบว่าสัตว์รวมถึงมนุษย์ด้วยไม่สามารถขาดอากาศได้ เพราะเมื่อใดที่ขาดอากาศก็จะต้องเสียชีวิต และกำมะถัน ก็ไม่สามารถลุกไหม้ในสภาพสุญญากาศได้

           ในปี .ศ. 1666 บอยล์ได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Hydrostatics Paradoxes ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความถ่วง
จำเพาะของวัตถุ บอยล์ได้ศึกษาเกี่ยวกับอะตอมของสาร เขาได้สรุปสมบัติอะตอมของสารไว้ว่า อะตอมของสารต่างชนิดกันจะมี
การเคลื่อนที่แตกต่างกัน และได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Original of Forms Qualities According to the
Corpuscular Philosophy

           บอยล์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นเคมี เขาก็ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเคมี
ด้านฟิสิกส์ก็ได้รับการยกย่องมากจากการค้นพบกฎของบอยล์ และการประดิษฐ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างเทอร์มอมิเตอร์ และ
บารอมิเตอร์ บอยล์ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691
ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

จอห์น เรย์ (John Ray)

กาบริเอล ดานิเอล ฟาเรนไฮต์ (Gabriel Daniel Fahrenheit)

อุณหภูมิของอากาศและดิน
          อุณหภูมิ คือ ระดับของความร้อน เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิ ซึ่งสามารถวัดได้ละเอียด และเชื่อถือได้ดีกว่าการใช้ประสาทสัมผัส หน่วยวัดอุณหภูมิ มีอยู่หลายหน่วย ดังนี้
          1) ระบบเซลเซียส ( ํC ) แบ่งมาตราส่วนระหว่างจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของน้ำออกเป็น 100 ส่วนเท่าๆ กัน โดยมีขีดบอกจุดหลอมเหลวของน้ำที่ 0 ํC และจุดเดือดที่ 100 ํC แต่เดิม เราเรียกหน่วยองศาเซลเซียสนี้ว่าเซนติเกรด ต่อมาจึงเปลี่ยนเรียกเป็นเซลเซียส เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ชื่อ อันเดอร์ เซลซิอัส (Anders Celsius) ซึ่งเป็นผู้คิดแบ่งมาตราส่วนระหว่างจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของน้ำเป็น 100 ส่วนเท่าๆ กันดังกล่าว
          2) ระบบเคลวิน (K) เป็นหน่วยในระบบเอสไอซึ่งเป็นระบบสากล โดยมีขีดบอกจุดหลอมเหลวของน้ำที่ 273 K และมีจุดเดือดของน้ำที่ 373 K ผู้คิดแบ่งมาตราส่วนอุณหภูมิของเคลวิน คือ ลอร์ด เคลวิน (Lord Kelvin) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
          3) ระบบฟาเรนไฮต์ ( ํF) เป็นหน่วยในระบบอังกฤษ โดยมีขีดบอกจุดหลอมเหลวของน้ำที่ 32 ํF และมีจุดเดือดของน้ำที่ 212 ํF ผู้คิดมาตราส่วนอุณหภูมิขององศาฟาเรนไฮด์ คือ กาบริเอล ดานิเอล ฟาเรนไฮด์ (Gabriel Daniel Fahrenheit) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
         ในการแปลงหน่วยวัดอุณหภูมิของระบบหนึ่งไปเป็นหน่วยวัดอุณหภูมิของอีกระบบ
หนึ่ง ทำได้โดยใช้สูตรต่อไปนี้
C คือ องศาเซลเซียส
F คือ องศาฟาเรนไฮต์
K คือ เคลวิน

เจมส์ วัตต์ (James Watt)














http://siweb.dss.go.th/Scientist/images/James%20Watt/watt-pic1.gif
เจมส์ วัตต์ : James Watt
 

เกิด        วันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1735 ที่เมืองกรีนน็อค (Greenox) ประเทศอังกฤษ (England)
เสียชีวิต วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1819 ที่ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน   - พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
             - บัญญัติศัพท์คำว่า แรงม้า (horse power)
        เจมส์ วัตต์เป็นนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษที่รู้จักกันดีในนามของผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำที่มีประสิทธิภาพและส่งผลให้วงการ
อุตสาหกรรมในขณะนั้นมีความเจริญก้าวหน้า

        วัตต์เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1736 ที่เมืองกรีนน็อค ประเทศอังกฤษ ฐานะทางครอบครัวของวัตต์ค่อนข้างยากจน
พ่อของเขาชื่อว่า โทมัส วัตต์ (Thomas Watt) เป็นช่างไม้และดำเนินกิจการเกี่ยวกับไม่ทุกชนิด ซึ่งทำให้วัตต์ไม่ได้รับการศึกษา
มากนัก แต่เขาก็มีความสนใจในเรื่องของการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งความฉลาดและ
มักชอบเรียนรู้ในสิ่งแปลก ๆ อยู่เสมอ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับเรื่องชาวไม้ที่เขาได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อของเขาด้วย เขายังเคย
ช่วยงานในร้านของบิดาอยู่ระยะหนึ่งทำให้เขามีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับการประดิษฐ์ดี เขาทำงานอยู่กับบิดาได้ไม่นาน
เขาก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิตที่จำเจซ้ำซาก

        ต่อมาในปี ค.ศ. 1754 ขณะที่เขาอายุได้ 18 ปี เขาได้เดินทางไปยังเมืองกลาสโกว ์(Grassgrow) เพื่อหางานทำในที่สุด
เขาก็ได้งานทำในตำแหน่งผู้ช่วยช่างในร้านทำเครื่องใช้แห่งหนึ่งส่วนเวลาช่วง เย็นหลังจากเลิกงานเขาได้ไปเรียนต่อทำให้สุขภาพ
เขาอ่อนแอลงอย่างมาก เพราะกลางวันต้องทำงาน ส่วนกลางคืนก็ต้องเรียนอีก ทำให้เขาต้องลาออกจากงาน และเดินทางไปยังกรุง
ลอนดอน เพื่อจะได้เรียนหนังสืออย่างจริงจัง วัตต์ได้สมัครเข้าเรียนเกี่ยวกับการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในระหว่างที่วัตต์อยู่ที่
กรุงลอนดอน ได้เกิดสงครามยุโรปขึ้น รัฐบาลมีคำสั่งให้เกณฑ์ชายหนุ่มข้าฝึกทหาร แต่วัตต์ไม่ชอบเป็นทหาร จึงได้เดินทางกลับไป
ที่เมืองกรีนน็อคอีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1756 เขามาถึงบ้านเขาต้องการจะเปิดร้านรับซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ แต่เขาขาดคุณสมบัติ
เนื่องจากกฎหมายของเมืองนี้ผู้ที่จะประกอบการค้าได้นั้นต้องจะทะเบียนกับสมาคมพ่อค้า ซึ่งผู้ที่จะสามารถจดทะเบียนได้ต้องเป็น
บุตรของพ่อค้า หรือต้องเคยทำงานในร้านค้ามาก่อน ทำให้วัตต์ต้องหางานอย่างอื่นทำ ในที่สุดวัตต์ก็ได้งานทำในตำแหน่งช่างซ่อม
เครื่องมือในมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ โดยได้รับค่าจ้างปีละ 35 ปอนด์

        วันหนึ่งเครื่องจักรไอน้ำนิวโคแมน ของมหาวิทยาลัยเกิดเสีย วัตต์สามารถซ่อมจนใช้งานได้ดีอีกทั้งยังปรับปรุงให้เครื่องจักร
ไอน้ำนิวโคแมนมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วยและจากเหตุนี้เองทำให้วัตต์มีความคิดที่จะสร้างเครื่องจักรไอน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ
ดีกว่าของนิวโคแมนที่มีขนาดใหญ่ อีกทั้งทำงานก็ล่าช้า ในปี ค.ศ. 1773 วัตต์จึงเริ่มประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ โดยได้รับการ
สนับสนุนด้านเงินทุนจาก จอห์น โรบัค (John Roebuck) วัตต์ได้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำโดยนำเครื่องยนต์ทั้งหมดมาใส่
ไว้ใน โลหะทรงกระบอกเพื่อทำให้เครื่องจักรมีขนาดเล็กลง แล้วต่อท่อให้ไอน้ำเข้าในในเครื่องจักรโดยตรง ซึ่งไอน้ำจะเข้าไปดัน
ลูกปืน เพื่อให้เครื่องทำงาน ในระยะแรกเครื่องจักรไอน้ำชนิดนี้ยังมีปัญหา เพราะเมื่อไอน้ำกลายเป็นน้ำ จะทำให้ไอน้ำที่ส่งเข้าไป
ใหม่ กลายเป็นหยดน้ำไปด้วย ซึ่งส่งผลให้เครื่องจักรทำงานได้ผลไม่เต็มที่ หรือไม่ก็หยุดทำงานไปเลยทำให้โรบัคไม่สนับสนุน
เงินทุนให้เขา เพราะเริ่มไม่มั่นใจว่าวัตต์จะประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำได้ แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก
แมทธิว โบลตัน (Mathew Bolton) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม

        วัตต์หาวิธีแก้ปัญหาอยู่เป็นเวลานาน ในที่สุดเขาก็สามารถแก้ปัญหาได้ในปี ค.ศ.1776 วิธีแก้ปัญหาของเขา คือ การต่อท่อที่ให้
ไอน้ำเข้าไปใหม่แยกออกมาต่างหาก สร้างท่อที่ให้ไอน้ำออกมาและกลายเป็นหยดน้ำอีกท่อหนึ่งซึ่งทำให้เครื่องจักร ไอน้ำของวัตต์มี
ประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นที่นิยมในเวลาอันรวดเร็ว แม้ว่าวัตต์จะไม่ใช่บุคคลแรกที่สามารถประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ
แต่เครื่องจักรไอน้ำของ วัตต์ก็มีประสิทธิภาพ และเป็นที่นิยมมากกว่า เมื่อวัตต์สามารถสร้างเครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ เขาได้นำผลงาน
ของเขาไปจดทะเบียนสิทธิบัตรและร่วมมือกับโบลตันผลิตเครื่องจักรไอน้ำออกจำหน่าย เครื่องจักรไอน้ำของวัตต์เป็นที่นิยม อีกทั้งทำ
ให้วงการอุตสาหกรรมทั้งในยุโรป และสหรัฐฯ มีศักยภาพในการผลิตมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นเครื่องจักรของวัตต์ยังเป็นต้นแบบของ
เครื่องจักรที่ใช้น้ำมันในปัจจุบันอีกด้วย

        วัตต์ไม่เพียงแต่ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำเท่านั้น เขายังประดิษฐ์เครื่องมืออีกหลายชนิดในปี ค.ศ. 1784 วัตต์ได้ประดิษฐ์เครื่อง
จักรช่วยตีเหล็กและในปี ค.ศ.1785 วัตต์ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรช่วยปั่นด้าย วัตต์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประดิษฐ์เครื่องจักรสำหรับ
ใช้ในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้วงการอุตสาหกรรมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น

จอห์น เรย์ (John Ray)


       
                 เขาก็เหมือนนักศึกษาค้นคว้าคนอื่นๆ ที่ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับงานที่รักอย่างยอมตายถวายชีวิต  ซึ่งบางคนกว่าชาวโลกจะบังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในผลงานของเขา  ก็ต้องล้มตายไปเสียก่อน  คนๆนั้นถึงจะ  ดังเรื่องของคนดีมีประโยชน์  มักจะเริ่มมาจากเด็กข้างถนน  ลูกชาวนาที่ยากจน   บางคนถ้าพูดแบบเขาก็เหมือนนักศึกษาค้นคว้าคนอื่นๆ ที่ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับงานที่รักอย่างยอมตายถวายชีวิต  ซึ่งบางคนกว่าชาวโลกไทยๆ  กอ ขอ กอกา  ไม่กระดิกหู  แต่ก็เอาดีจนได้  และดีจนไม่อาจจะตามทันได้

                สำหรับจอห์น  เรย์   เขาเป็นนักธรรมชาติวิทยามีความเชี่ยวชาญในสิ่งที่มีชีวิต  ไม่ว่าพืชหรือสัตว์จนได้ รับกายกย่องว่าเป็น บิดาแห่งพฤกษศาสตร์  อย่างนี้ก็แปลว่า  เขาหลับตามองเห็นพืชทุกชนิด

                เขาเป็นคนอังกฤษ  เกิดเมื่อวันที่  29 กุมภาพันธ์  ..1628 (พ..2127) ใกล้เบรนทรี เอสเซกซ์  พ่อเป็นช่างตีเหล็ก  แต่ก็ส่งเสียลูกชายจนถึงขั้นจบมหาวิทยาลัย  คือจบ  เคมบริดจ์
               
                เขาเกิดก่อนชาลส์  โรเบิร์น   ดาร์วิน  ผู้วางทฤษฎีแห่งการพัฒนาธรรมชาติ   ซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยาชาติเดียวกับเขา    เมื่อเขาเป็นผู้ริเริ่มงานทางด้านธรรมชาติ  เขาจึงได้รับการยกย่องจากคนรุ่นหลัง   ซึ่งได้อาศัยการริเริ่มของเขาเป็นบรรทัดฐานศึกษาค้นคว้าหาสิ่งใหม่ๆและความก้าวหน้าในวิชาแขนงนี้
               
                จอห์น  เรย์  ได้ทุ่มเทวิชาความรู้  และความสนใจต่อเรื่องราวของธรรมชาติจนมีผลงานดีเด่น  และได้เข้าร่วมสมาชิก  F.R.S.  และในปี  ..1667    สมาคมทางพฤกษศาสตร์   และสัตววิทยาได้เอาชื่อของเขาไปตั้งเป็นอนุสรณ์คือ  “The  Ray  Society”

                ต่อมาในปี ค..1682   เขาได้จำแนกพืชต่างๆและได้ตั้งชื่อกำกับพืชที่เขาจำแนกแยกนั้นไปด้วย   และผลงานอันนี้ของเขาแหละที่ทำให้จอห์น  เรย์  ได้รับเกียรติอย่างสูงเป็น  บิดาแห่งพฤกษศาสตร์   เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค..1705 (พ..2248) รวมอายุได้ 77 ปี

โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle)


ชื่อ:โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle)
เชื้อชาติ:ชาวไอริช
มีชีวิตในช่วง:พ.ศ. 2170 - 2234
ผลงานที่สำคัญ:บิดาแห่งวิชาเคมี ผู้ศึกษาเรื่องความดัน และปริมาตรของก๊าซ
โรเบิร์ต บอยล์ : Robert Boyle
 
เกิด        วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ (Munster) ประเทศไอร์แลนด์ (Ireland)
เสียชีวิต วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน   - ตั้งกฎของบอยล์ (Boyle's Law) ว่าด้วยเรื่องความดันอากาศ

          บอยล์เป็นนักเคมีคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกงานด้านเคมีอย่างจริงจัง ผลงานของเขา
มีประโยชน์มากต่อวงการวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า กรค้นพบธาตุ การเผาไหม้ของโลหะ อีกทั้งเขาเป็นผู้ปรับปรุงเทอร์มอมิเตอร์ให้มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และประดิษฐ์หลอดแก้วสุญญากาศ ไม่เฉพาะงานด้านเคมีเท่านั้นที่สร้างชื่อเสียงให้กับบอยล์ งานด้านฟิสิกส์
เขาก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎของบอยล์ เป็นทฤษฎีที่สร้างคุณประโยชน์มากมาย และ
เป็นรากฐานของการประดิษฐ์เครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ หลายชนิดเช่น เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องพ่นลม เครื่องยนต์ที่ใช้แรงกดดันของก๊าซ
และเครื่องยนต์แบบจุดระเบิดภายใน

          บอยล์เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ ประเทศไอร์แลนด์ บอยล์เป็นบุตรชายคนสุดท้ายของท่านเอิร์ล
แห่งคอร์ด (Earl of Cord) ซึ่งเป็นขุนนางผู้มั่งคั่ง ทำให้บอยล์มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี และมีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าทาง
วิทยาศาสตร์ได้อย่างเต็มที่เนื่องจากบิดาของเขาก็ชื่นชอบเรื่องวิทยาศาสตร์เช่นกัน บอยล์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่วิทยาลัยอีตัน
(Eton College) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนนี้เขาได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ละติน และ
ฝรั่งเศส นอกจากนี้เขาได้เรียนภาษากรีก และฮิบรูด้วย เมื่อบอยล์อายุได้ 14 ปี บิดาของเขาได้ส่งเขาไปเรียนภาษาอิตาลี ที่ประเทศ
อิตาลี ระหว่างที่บอยล์ได้เรียนที่ประเทศอิตาลี เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่งชื่อว่า เรื่องประหลาดของ
นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่เขียนโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ทำให้เขามีความสนใจใน
เรื่องวิทยาศาสตร์ และตั้งใจว่าจะต้องเรียนต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป บอยล์เดินทางกลับประเทศไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1644
ปรากฏว่าบิดาของเขาเสียชีวิตพร้อมกับทิ้งมรดกเป็นที่ดิน และปราสาทในสตอลบริดจ์เซทไซร์ (Stallbridge Doe Setshire)
ไว้ให้เขา บอยล์ได้เดินทางกลับไปที่ประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง เพื่อศึกษาต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด
(Oxfoerd University)

          หลังจากจบการศึกษา บอยล์ได้กลับบ้านและทำการทดลองค้นคว้าอย่างจริงจัง งานชิ้นแรดที่บอยล์ให้ความสนใจคือ ผลึก
เพราะบอยล์ต้องการหาส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ จากการศึกษาบอยล์พบว่า ผลึกบางชนิดเกิดจากส่วนผสมและสารประกอบทาง
เคมีบางชนิด ต่อมาเขาเริ่มศึกษาเกี่ยวกับเครื่องวัดความกดอากาศ จากผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน โดยเริ่มต้น
จากเทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอ แต่เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้ใช้น้ำในการวัดซึ่งยังวัดอุณหภูมิได้ไม่ถูกต้องแม่นยำนัก บอยล์ได้นำ
เทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอมาปรับปรุงให้มีประสิทะภาพมากขึ้นโดยใช้ปรอทแทนน้ำ

          ต่อมาบอยล์ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับความกดอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในเวลานั้นว่า อากาศมีน้ำหนักหรือไม่
และสภาพไร้อากาศหรือสุญญากาศเป็นไปได้หรือไม่ ในปี ค.ศ. 1657 บอยล์ได้อ่านหนังสือของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันท่านหนึ่ง
ชื่อว่าออตโต ฟอน เกริเก (Otto von Guericke) เกี่ยวกับเครื่องสูบอากาศที่เขาประดิษฐ์ขึ้น บอยล์ได้นำเครื่องสูบอากาศของ
เกริเกมาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความดันอากาศ โดยร่วมมือกับโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) และในปี ค.ศ. 1659 เขาก็สามารถ
ปรับปรุงเครื่องสูบอากาศของเกริเกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้นำเครื่องสูบอากาศนี้มาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์
ระหว่างก๊าซกับความดัน นอกจากนี้เขาได้สร้างห้องทดลองสุญญากาศขึ้นด้วย

          ในการทดลองครั้งแรกบอยล์ได้นำบารอมิเตอร์ใส่ลงไปในห้องทดลองสุญญากาศ จากนั้นเขาจึงใช้เครื่องสูบอากาศสูบอากาศ
ในห้องทดลองออกทีละน้อย ๆ ปรากฏว่าปรอทในบารอมิเตอร์สูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งสูบอากาศออกไปมากเท่าไรปรอทก็ยิ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้บอยล์ยังได้แขวนนาฬิกาไว้ในห้องนั้น เมื่อนาฬิกามีเสียงดังขึ้นเพียงครั้งเดียวก็หายไป แสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่มีอากาศ
เสียงก็ไม่สามารถดังได้ จากการทดลองครั้งนี้บอยล์สรุปว่าอากาศมีแรงดัน และเสียงไม่สามารถเดินทางได้ในที่ที่ไม่มีอากาศ
ผลจากการทดลองครั้งนี้บอยล์ได้นำมาตั้งเป็นกฎชื่อว่า กฎของบอยล์ (Boyle's Law) กฎนี้กล่าวว่า ถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่
อุณหภูมิของก๊าซจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นปฏิภาคกลับกันกับความดัน หรือถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่ ความดันคงที่ อุณหภูมิก็จะคงที่
สามารถสรุปกฎข้อนี้ได้ว่าปริมาตรของก๊าซจะเพิ่ม - ลด ในอัตราส่วนที่เท่ากันเสมอ เช่น ถ้าเพิ่มความกดดันขึ้นเป็น 1 เท่า ปริมาตร
ของอากาศจะลดลง 1 เท่า แต่ถ้าเพิ่มความกดดันเป็น 2 เท่า ปริมาตรของอากาศจะลดลงเป็น 2 เท่า ซึ่งกฎของบอยล์เป็นกฎที่ได้รับ
การยกย่องกันมากในวงการฟิสิกส์ บอยล์ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1660 โดยใช้ชื่อหนังสือว่า New Experiment
Physic Mechanical, Touching the spring of the Air, and its Effects เมื่อหนังสือเผยแพร่ออกไปกลับได้การ
ตอบรับที่ไม่ดีนัก คนส่วนใหญ่มักเห็นว่ากฎของบอยล์เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

           ดังนั้นเขาจึงทำแสดงการทดลองครั้งใหญ่เพื่อแสดงให้คนได้เห็นความจริงข้อนี้ โดยการสร้างหลอดแก้วรูปตัวเจที่มีขนาด
ความสูงถึง 12 ฟุต ส่วนปลายที่งอขึ้นมีความสูง 5 ฟุต ปิดทางส่วนปลายไว้ แล้วนำไปติดตั้งไว้บริเวณบันไดบ้านของเขา จากนั้น
จึงเริ่มทำการทดลองโดยการเทปรอทใส่ลงในหลอดแก้ว ในขั้นต้นปริมาณปรอทอยู่ในระดับที่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง จากนั้นจึงเทปรอท
เข้าไปในส่วนบนแล้วรีบผิดฝา และทำซ้ำเหมือนเช่นนั้นอีกหลายครั้งจนเห็นได้ชัดเจนว่าปรอทในข้างที่งอขึ้น มีระดับของปรอท
สูงกว่าอีกด้านหนึ่ง ผลการทดลองครั้งนี้ทำให้ผู้ที่มาเฝ้าดูการทดลองครั้งนี้เห็นและเข้าใจในกฎของบอยล์

           ในปี ค.ศ. 1661 บอยล์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า The Sceptical Chemist ซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านทฤษฎีของ
อาริสโตเติลในเรื่องของส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ อาริสโตเติลกล่าวว่าธาตุทั้งหลายในโลกประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม และไฟ
รวมถึงทฤษฎีของพาราเซลลัสที่ว่าธาตุประกอบไปด้วย ปรอท กำมะถัน และเกลือ บอยล์มีความเชื่อว่าธาตุทั้งหลายในโลก
ประกอบไปด้วยสารประกอบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องได้รับการทดสอบเสียก่อนจึงจะรู้ได้ว่าธาตุชนิดนั้นประกอบไปด้วยสาร ชนิดใดบ้าง
ไม่ใช่ตามทฤษฎีของอาริสโตเติลและพาราเซลลัส หนังสือของบอยล์เล่มนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากผู้คนที่เคยมี ความเชื่อถือในทฤษฎีเก่าของอาริสโตเติล เมื่อได้อ่านหนังสือของบอยล์แล้วก็มีความคิดที่เปลีรี่ยนไป ต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได ้
นำวิธีการของบอยล์ไปทดลอง ก็สามารถค้นพบธาตุใหม่ ๆ อีกจำนวนกว่า 100 ชนิด

           บอยล์ไม่ได้หยุดยั้งการค้นคว้าของเขาเพียงเท่านี้ เขายังทำการทดลองวิทยาศาสตร์ในแขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขา ไม่ว่าจะ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตและเสียง ในเรื่องของความเร็วของเสียงตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงปลายทาง และโครงสร้างของผลึกต่าง ๆ
ส่วนวิชาเคมีบอยล์ก็ยังให้ความสนใจและทำการทดลองค้นคว้าอยู่เสมอ ซึ่งการทดลองครั้งหนึ่งของบอยล์ เกือบทำให้เขาค้นพบ
ก๊าซออกซิเจน แต่เขาก็พบว่าสัตว์รวมถึงมนุษย์ด้วยไม่สามารถขาดอากาศได้ เพราะเมื่อใดที่ขาดอากาศก็จะต้องเสียชีวิต และกำมะถัน ก็ไม่สามารถลุกไหม้ในสภาพสุญญากาศได้

           ในปี .ศ. 1666 บอยล์ได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Hydrostatics Paradoxes ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความถ่วง
จำเพาะของวัตถุ บอยล์ได้ศึกษาเกี่ยวกับอะตอมของสาร เขาได้สรุปสมบัติอะตอมของสารไว้ว่า อะตอมของสารต่างชนิดกันจะมี
การเคลื่อนที่แตกต่างกัน และได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Original of Forms Qualities According to the
Corpuscular Philosophy

           บอยล์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นเคมี เขาก็ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเคมี
ด้านฟิสิกส์ก็ได้รับการยกย่องมากจากการค้นพบกฎของบอยล์ และการประดิษฐ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างเทอร์มอมิเตอร์ และ
บารอมิเตอร์ บอยล์ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691
ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

คริสเตียน บาร์นาร์ด (Dr. Christiaan Barnard)

แพทย์ผู้สร้างประวัติศาสตร์การเปลี่ยนหัวใจ
เสียงโทรศัพท์ที่สร้างประวัติศาสตร์ การแพทย์ดังขึ้น  ขณะที่นายแพทย์คริสเตียน  บาร์นาร์ด  กำลังงีบหลังอาหารมื้อเย็นอยู่ที่บ้านในเมืองเคปทาวน์แอฟริกาใต้  แม่ชีจากโรงพยาบาล  กรูต  ชูร์  แห่งเมืองเคปทาวน์  โทรมาบอกเขาว่ามีหญิงสาวผู้หนึ่งประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนในวันนั้น  สมองของหญิงผู้เคราะห์ร้ายได้รับความเสียหายมากจนไม่อาจรักษาได้  ถ้าเสียชีวิตลง  หัวใจของหญิงผู้นี้อาจนำมาใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นครั้งแรกของโลก ได้  เธอมีหมู่เลือดตรงกับของผู้ป่วยที่รอรับบริจาคหัวใจ  และบิดาของเธอก็พร้อมที่จะให้ความยินยอม

3 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ดร. คริสเตียน บาร์นาร์ด (Dr.Christiaan Barnard) ได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ของมนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก ที่เมืองเคปทาวน์ แอฟริกาใต้ โดยผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจให้กับคนไข้วัย 53 ปี ซึ่งหัวใจที่ได้นั้นมาจากหญิงสาววัย 25 ปีที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การผ่าตัดประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจกลับเสียชีวิตในอีก 18 วันต่อมา จากโรคแทรกซ้อนและการติดเชื้อในปอด