โรเบิร์ต บอยล์ : Robert Boyle |
เกิด วันที่
26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ (Munster) ประเทศไอร์แลนด์
(Ireland)
เสียชีวิต วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England) ผลงาน - ตั้งกฎของบอยล์ (Boyle's Law) ว่าด้วยเรื่องความดันอากาศ บอยล์เป็นนักเคมีคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกงานด้านเคมีอย่างจริงจัง ผลงานของเขา มีประโยชน์มากต่อวงการวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า กรค้นพบธาตุ การเผาไหม้ของโลหะ อีกทั้งเขาเป็นผู้ปรับปรุงเทอร์มอมิเตอร์ให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และประดิษฐ์หลอดแก้วสุญญากาศ ไม่เฉพาะงานด้านเคมีเท่านั้นที่สร้างชื่อเสียงให้กับบอยล์ งานด้านฟิสิกส์ เขาก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎของบอยล์ เป็นทฤษฎีที่สร้างคุณประโยชน์มากมาย และ เป็นรากฐานของการประดิษฐ์เครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ หลายชนิดเช่น เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องพ่นลม เครื่องยนต์ที่ใช้แรงกดดันของก๊าซ และเครื่องยนต์แบบจุดระเบิดภายใน บอยล์เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ ประเทศไอร์แลนด์ บอยล์เป็นบุตรชายคนสุดท้ายของท่านเอิร์ล แห่งคอร์ด (Earl of Cord) ซึ่งเป็นขุนนางผู้มั่งคั่ง ทำให้บอยล์มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี และมีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าทาง วิทยาศาสตร์ได้อย่างเต็มที่เนื่องจากบิดาของเขาก็ชื่นชอบเรื่องวิทยาศาสตร์เช่นกัน บอยล์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่วิทยาลัยอีตัน (Eton College) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนนี้เขาได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ละติน และ ฝรั่งเศส นอกจากนี้เขาได้เรียนภาษากรีก และฮิบรูด้วย เมื่อบอยล์อายุได้ 14 ปี บิดาของเขาได้ส่งเขาไปเรียนภาษาอิตาลี ที่ประเทศ อิตาลี ระหว่างที่บอยล์ได้เรียนที่ประเทศอิตาลี เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่งชื่อว่า เรื่องประหลาดของ นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่เขียนโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ทำให้เขามีความสนใจใน เรื่องวิทยาศาสตร์ และตั้งใจว่าจะต้องเรียนต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป บอยล์เดินทางกลับประเทศไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1644 ปรากฏว่าบิดาของเขาเสียชีวิตพร้อมกับทิ้งมรดกเป็นที่ดิน และปราสาทในสตอลบริดจ์เซทไซร์ (Stallbridge Doe Setshire) ไว้ให้เขา บอยล์ได้เดินทางกลับไปที่ประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง เพื่อศึกษาต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด (Oxfoerd University) หลังจากจบการศึกษา บอยล์ได้กลับบ้านและทำการทดลองค้นคว้าอย่างจริงจัง งานชิ้นแรดที่บอยล์ให้ความสนใจคือ ผลึก เพราะบอยล์ต้องการหาส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ จากการศึกษาบอยล์พบว่า ผลึกบางชนิดเกิดจากส่วนผสมและสารประกอบทาง เคมีบางชนิด ต่อมาเขาเริ่มศึกษาเกี่ยวกับเครื่องวัดความกดอากาศ จากผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน โดยเริ่มต้น จากเทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอ แต่เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้ใช้น้ำในการวัดซึ่งยังวัดอุณหภูมิได้ไม่ถูกต้องแม่นยำนัก บอยล์ได้นำ เทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอมาปรับปรุงให้มีประสิทะภาพมากขึ้นโดยใช้ปรอทแทนน้ำ ต่อมาบอยล์ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับความกดอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในเวลานั้นว่า อากาศมีน้ำหนักหรือไม่ และสภาพไร้อากาศหรือสุญญากาศเป็นไปได้หรือไม่ ในปี ค.ศ. 1657 บอยล์ได้อ่านหนังสือของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันท่านหนึ่ง ชื่อว่าออตโต ฟอน เกริเก (Otto von Guericke) เกี่ยวกับเครื่องสูบอากาศที่เขาประดิษฐ์ขึ้น บอยล์ได้นำเครื่องสูบอากาศของ เกริเกมาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความดันอากาศ โดยร่วมมือกับโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) และในปี ค.ศ. 1659 เขาก็สามารถ ปรับปรุงเครื่องสูบอากาศของเกริเกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้นำเครื่องสูบอากาศนี้มาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างก๊าซกับความดัน นอกจากนี้เขาได้สร้างห้องทดลองสุญญากาศขึ้นด้วย ในการทดลองครั้งแรกบอยล์ได้นำบารอมิเตอร์ใส่ลงไปในห้องทดลองสุญญากาศ จากนั้นเขาจึงใช้เครื่องสูบอากาศสูบอากาศ ในห้องทดลองออกทีละน้อย ๆ ปรากฏว่าปรอทในบารอมิเตอร์สูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งสูบอากาศออกไปมากเท่าไรปรอทก็ยิ่งสูงขึ้น นอกจากนี้บอยล์ยังได้แขวนนาฬิกาไว้ในห้องนั้น เมื่อนาฬิกามีเสียงดังขึ้นเพียงครั้งเดียวก็หายไป แสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่มีอากาศ เสียงก็ไม่สามารถดังได้ จากการทดลองครั้งนี้บอยล์สรุปว่าอากาศมีแรงดัน และเสียงไม่สามารถเดินทางได้ในที่ที่ไม่มีอากาศ ผลจากการทดลองครั้งนี้บอยล์ได้นำมาตั้งเป็นกฎชื่อว่า กฎของบอยล์ (Boyle's Law) กฎนี้กล่าวว่า ถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่ อุณหภูมิของก๊าซจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นปฏิภาคกลับกันกับความดัน หรือถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่ ความดันคงที่ อุณหภูมิก็จะคงที่ สามารถสรุปกฎข้อนี้ได้ว่าปริมาตรของก๊าซจะเพิ่ม - ลด ในอัตราส่วนที่เท่ากันเสมอ เช่น ถ้าเพิ่มความกดดันขึ้นเป็น 1 เท่า ปริมาตร ของอากาศจะลดลง 1 เท่า แต่ถ้าเพิ่มความกดดันเป็น 2 เท่า ปริมาตรของอากาศจะลดลงเป็น 2 เท่า ซึ่งกฎของบอยล์เป็นกฎที่ได้รับ การยกย่องกันมากในวงการฟิสิกส์ บอยล์ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1660 โดยใช้ชื่อหนังสือว่า New Experiment Physic Mechanical, Touching the spring of the Air, and its Effects เมื่อหนังสือเผยแพร่ออกไปกลับได้การ ตอบรับที่ไม่ดีนัก คนส่วนใหญ่มักเห็นว่ากฎของบอยล์เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงทำแสดงการทดลองครั้งใหญ่เพื่อแสดงให้คนได้เห็นความจริงข้อนี้ โดยการสร้างหลอดแก้วรูปตัวเจที่มีขนาด ความสูงถึง 12 ฟุต ส่วนปลายที่งอขึ้นมีความสูง 5 ฟุต ปิดทางส่วนปลายไว้ แล้วนำไปติดตั้งไว้บริเวณบันไดบ้านของเขา จากนั้น จึงเริ่มทำการทดลองโดยการเทปรอทใส่ลงในหลอดแก้ว ในขั้นต้นปริมาณปรอทอยู่ในระดับที่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง จากนั้นจึงเทปรอท เข้าไปในส่วนบนแล้วรีบผิดฝา และทำซ้ำเหมือนเช่นนั้นอีกหลายครั้งจนเห็นได้ชัดเจนว่าปรอทในข้างที่งอขึ้น มีระดับของปรอท สูงกว่าอีกด้านหนึ่ง ผลการทดลองครั้งนี้ทำให้ผู้ที่มาเฝ้าดูการทดลองครั้งนี้เห็นและเข้าใจในกฎของบอยล์ ในปี ค.ศ. 1661 บอยล์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า The Sceptical Chemist ซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านทฤษฎีของ อาริสโตเติลในเรื่องของส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ อาริสโตเติลกล่าวว่าธาตุทั้งหลายในโลกประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม และไฟ รวมถึงทฤษฎีของพาราเซลลัสที่ว่าธาตุประกอบไปด้วย ปรอท กำมะถัน และเกลือ บอยล์มีความเชื่อว่าธาตุทั้งหลายในโลก ประกอบไปด้วยสารประกอบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องได้รับการทดสอบเสียก่อนจึงจะรู้ได้ว่าธาตุชนิดนั้นประกอบไปด้วยสาร ชนิดใดบ้าง ไม่ใช่ตามทฤษฎีของอาริสโตเติลและพาราเซลลัส หนังสือของบอยล์เล่มนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากผู้คนที่เคยมี ความเชื่อถือในทฤษฎีเก่าของอาริสโตเติล เมื่อได้อ่านหนังสือของบอยล์แล้วก็มีความคิดที่เปลีรี่ยนไป ต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได ้ นำวิธีการของบอยล์ไปทดลอง ก็สามารถค้นพบธาตุใหม่ ๆ อีกจำนวนกว่า 100 ชนิด บอยล์ไม่ได้หยุดยั้งการค้นคว้าของเขาเพียงเท่านี้ เขายังทำการทดลองวิทยาศาสตร์ในแขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขา ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตและเสียง ในเรื่องของความเร็วของเสียงตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงปลายทาง และโครงสร้างของผลึกต่าง ๆ ส่วนวิชาเคมีบอยล์ก็ยังให้ความสนใจและทำการทดลองค้นคว้าอยู่เสมอ ซึ่งการทดลองครั้งหนึ่งของบอยล์ เกือบทำให้เขาค้นพบ ก๊าซออกซิเจน แต่เขาก็พบว่าสัตว์รวมถึงมนุษย์ด้วยไม่สามารถขาดอากาศได้ เพราะเมื่อใดที่ขาดอากาศก็จะต้องเสียชีวิต และกำมะถัน ก็ไม่สามารถลุกไหม้ในสภาพสุญญากาศได้ ในปี .ศ. 1666 บอยล์ได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Hydrostatics Paradoxes ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความถ่วง จำเพาะของวัตถุ บอยล์ได้ศึกษาเกี่ยวกับอะตอมของสาร เขาได้สรุปสมบัติอะตอมของสารไว้ว่า อะตอมของสารต่างชนิดกันจะมี การเคลื่อนที่แตกต่างกัน และได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Original of Forms Qualities According to the Corpuscular Philosophy บอยล์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นเคมี เขาก็ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเคมี ด้านฟิสิกส์ก็ได้รับการยกย่องมากจากการค้นพบกฎของบอยล์ และการประดิษฐ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างเทอร์มอมิเตอร์ และ บารอมิเตอร์ บอยล์ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ |
วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556
กาบริเอล ดานิเอล ฟาเรนไฮต์ (Gabriel Daniel Fahrenheit)
อุณหภูมิของอากาศและดิน
|
อุณหภูมิ คือ ระดับของความร้อน เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิ ซึ่งสามารถวัดได้ละเอียด และเชื่อถือได้ดีกว่าการใช้ประสาทสัมผัส หน่วยวัดอุณหภูมิ มีอยู่หลายหน่วย ดังนี้ |
1) ระบบเซลเซียส ( ํC ) แบ่งมาตราส่วนระหว่างจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของน้ำออกเป็น 100 ส่วนเท่าๆ กัน โดยมีขีดบอกจุดหลอมเหลวของน้ำที่ 0 ํC และจุดเดือดที่ 100 ํC แต่เดิม เราเรียกหน่วยองศาเซลเซียสนี้ว่าเซนติเกรด ต่อมาจึงเปลี่ยนเรียกเป็นเซลเซียส เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ชื่อ อันเดอร์ เซลซิอัส (Anders Celsius) ซึ่งเป็นผู้คิดแบ่งมาตราส่วนระหว่างจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของน้ำเป็น 100 ส่วนเท่าๆ กันดังกล่าว |
2) ระบบเคลวิน (K) เป็นหน่วยในระบบเอสไอซึ่งเป็นระบบสากล โดยมีขีดบอกจุดหลอมเหลวของน้ำที่ 273 K และมีจุดเดือดของน้ำที่ 373 K ผู้คิดแบ่งมาตราส่วนอุณหภูมิของเคลวิน คือ ลอร์ด เคลวิน (Lord Kelvin) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ |
3) ระบบฟาเรนไฮต์ ( ํF) เป็นหน่วยในระบบอังกฤษ โดยมีขีดบอกจุดหลอมเหลวของน้ำที่ 32 ํF และมีจุดเดือดของน้ำที่ 212 ํF ผู้คิดมาตราส่วนอุณหภูมิขององศาฟาเรนไฮด์ คือ กาบริเอล ดานิเอล ฟาเรนไฮด์ (Gabriel Daniel Fahrenheit) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน |
ในการแปลงหน่วยวัดอุณหภูมิของระบบหนึ่งไปเป็นหน่วยวัดอุณหภูมิของอีกระบบ หนึ่ง ทำได้โดยใช้สูตรต่อไปนี้ |
C
คือ องศาเซลเซียส F คือ องศาฟาเรนไฮต์ K คือ เคลวิน |
เจมส์ วัตต์ (James Watt)
เจมส์
วัตต์ : James Watt |
เกิด วันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1735 ที่เมืองกรีนน็อค (Greenox) ประเทศอังกฤษ (England) เสียชีวิต วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1819 ที่ประเทศอังกฤษ (England) ผลงาน - พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น - บัญญัติศัพท์คำว่า แรงม้า (horse power) เจมส์ วัตต์เป็นนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษที่รู้จักกันดีในนามของผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำที่มีประสิทธิภาพและส่งผลให้วงการ อุตสาหกรรมในขณะนั้นมีความเจริญก้าวหน้า วัตต์เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1736 ที่เมืองกรีนน็อค ประเทศอังกฤษ ฐานะทางครอบครัวของวัตต์ค่อนข้างยากจน พ่อของเขาชื่อว่า โทมัส วัตต์ (Thomas Watt) เป็นช่างไม้และดำเนินกิจการเกี่ยวกับไม่ทุกชนิด ซึ่งทำให้วัตต์ไม่ได้รับการศึกษา มากนัก แต่เขาก็มีความสนใจในเรื่องของการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งความฉลาดและ มักชอบเรียนรู้ในสิ่งแปลก ๆ อยู่เสมอ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับเรื่องชาวไม้ที่เขาได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อของเขาด้วย เขายังเคย ช่วยงานในร้านของบิดาอยู่ระยะหนึ่งทำให้เขามีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับการประดิษฐ์ดี เขาทำงานอยู่กับบิดาได้ไม่นาน เขาก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิตที่จำเจซ้ำซาก ต่อมาในปี ค.ศ. 1754 ขณะที่เขาอายุได้ 18 ปี เขาได้เดินทางไปยังเมืองกลาสโกว ์(Grassgrow) เพื่อหางานทำในที่สุด เขาก็ได้งานทำในตำแหน่งผู้ช่วยช่างในร้านทำเครื่องใช้แห่งหนึ่งส่วนเวลาช่วง เย็นหลังจากเลิกงานเขาได้ไปเรียนต่อทำให้สุขภาพ เขาอ่อนแอลงอย่างมาก เพราะกลางวันต้องทำงาน ส่วนกลางคืนก็ต้องเรียนอีก ทำให้เขาต้องลาออกจากงาน และเดินทางไปยังกรุง ลอนดอน เพื่อจะได้เรียนหนังสืออย่างจริงจัง วัตต์ได้สมัครเข้าเรียนเกี่ยวกับการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในระหว่างที่วัตต์อยู่ที่ กรุงลอนดอน ได้เกิดสงครามยุโรปขึ้น รัฐบาลมีคำสั่งให้เกณฑ์ชายหนุ่มข้าฝึกทหาร แต่วัตต์ไม่ชอบเป็นทหาร จึงได้เดินทางกลับไป ที่เมืองกรีนน็อคอีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1756 เขามาถึงบ้านเขาต้องการจะเปิดร้านรับซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ แต่เขาขาดคุณสมบัติ เนื่องจากกฎหมายของเมืองนี้ผู้ที่จะประกอบการค้าได้นั้นต้องจะทะเบียนกับสมาคมพ่อค้า ซึ่งผู้ที่จะสามารถจดทะเบียนได้ต้องเป็น บุตรของพ่อค้า หรือต้องเคยทำงานในร้านค้ามาก่อน ทำให้วัตต์ต้องหางานอย่างอื่นทำ ในที่สุดวัตต์ก็ได้งานทำในตำแหน่งช่างซ่อม เครื่องมือในมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ โดยได้รับค่าจ้างปีละ 35 ปอนด์ วันหนึ่งเครื่องจักรไอน้ำนิวโคแมน ของมหาวิทยาลัยเกิดเสีย วัตต์สามารถซ่อมจนใช้งานได้ดีอีกทั้งยังปรับปรุงให้เครื่องจักร ไอน้ำนิวโคแมนมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วยและจากเหตุนี้เองทำให้วัตต์มีความคิดที่จะสร้างเครื่องจักรไอน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ ดีกว่าของนิวโคแมนที่มีขนาดใหญ่ อีกทั้งทำงานก็ล่าช้า ในปี ค.ศ. 1773 วัตต์จึงเริ่มประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ โดยได้รับการ สนับสนุนด้านเงินทุนจาก จอห์น โรบัค (John Roebuck) วัตต์ได้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำโดยนำเครื่องยนต์ทั้งหมดมาใส่ ไว้ใน โลหะทรงกระบอกเพื่อทำให้เครื่องจักรมีขนาดเล็กลง แล้วต่อท่อให้ไอน้ำเข้าในในเครื่องจักรโดยตรง ซึ่งไอน้ำจะเข้าไปดัน ลูกปืน เพื่อให้เครื่องทำงาน ในระยะแรกเครื่องจักรไอน้ำชนิดนี้ยังมีปัญหา เพราะเมื่อไอน้ำกลายเป็นน้ำ จะทำให้ไอน้ำที่ส่งเข้าไป ใหม่ กลายเป็นหยดน้ำไปด้วย ซึ่งส่งผลให้เครื่องจักรทำงานได้ผลไม่เต็มที่ หรือไม่ก็หยุดทำงานไปเลยทำให้โรบัคไม่สนับสนุน เงินทุนให้เขา เพราะเริ่มไม่มั่นใจว่าวัตต์จะประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำได้ แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก แมทธิว โบลตัน (Mathew Bolton) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม วัตต์หาวิธีแก้ปัญหาอยู่เป็นเวลานาน ในที่สุดเขาก็สามารถแก้ปัญหาได้ในปี ค.ศ.1776 วิธีแก้ปัญหาของเขา คือ การต่อท่อที่ให้ ไอน้ำเข้าไปใหม่แยกออกมาต่างหาก สร้างท่อที่ให้ไอน้ำออกมาและกลายเป็นหยดน้ำอีกท่อหนึ่งซึ่งทำให้เครื่องจักร ไอน้ำของวัตต์มี ประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นที่นิยมในเวลาอันรวดเร็ว แม้ว่าวัตต์จะไม่ใช่บุคคลแรกที่สามารถประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ แต่เครื่องจักรไอน้ำของ วัตต์ก็มีประสิทธิภาพ และเป็นที่นิยมมากกว่า เมื่อวัตต์สามารถสร้างเครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ เขาได้นำผลงาน ของเขาไปจดทะเบียนสิทธิบัตรและร่วมมือกับโบลตันผลิตเครื่องจักรไอน้ำออกจำหน่าย เครื่องจักรไอน้ำของวัตต์เป็นที่นิยม อีกทั้งทำ ให้วงการอุตสาหกรรมทั้งในยุโรป และสหรัฐฯ มีศักยภาพในการผลิตมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นเครื่องจักรของวัตต์ยังเป็นต้นแบบของ เครื่องจักรที่ใช้น้ำมันในปัจจุบันอีกด้วย วัตต์ไม่เพียงแต่ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำเท่านั้น เขายังประดิษฐ์เครื่องมืออีกหลายชนิดในปี ค.ศ. 1784 วัตต์ได้ประดิษฐ์เครื่อง จักรช่วยตีเหล็กและในปี ค.ศ.1785 วัตต์ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรช่วยปั่นด้าย วัตต์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประดิษฐ์เครื่องจักรสำหรับ ใช้ในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้วงการอุตสาหกรรมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น |
จอห์น เรย์ (John Ray)
เขาก็เหมือนนักศึกษาค้นคว้าคนอื่นๆ ที่ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับงานที่รักอย่างยอมตายถวายชีวิต ซึ่งบางคนกว่าชาวโลกจะบังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในผลงานของเขา ก็ต้องล้มตายไปเสียก่อน คนๆนั้นถึงจะ “ดัง” เรื่องของคนดีมีประโยชน์ มักจะเริ่มมาจากเด็กข้างถนน ลูกชาวนาที่ยากจน บางคนถ้าพูดแบบเขาก็เหมือนนักศึกษาค้นคว้าคนอื่นๆ ที่ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับงานที่รักอย่างยอมตายถวายชีวิต ซึ่งบางคนกว่าชาวโลกไทยๆ กอ ขอ กอกา ไม่กระดิกหู แต่ก็เอาดีจนได้ และดีจนไม่อาจจะตามทันได้
สำหรับจอห์น เรย์ เขาเป็นนักธรรมชาติวิทยามีความเชี่ยวชาญในสิ่งที่มีชีวิต ไม่ว่าพืชหรือสัตว์จนได้ รับกายกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพฤกษศาสตร์” อย่างนี้ก็แปลว่า เขาหลับตามองเห็นพืชทุกชนิด
เขาเป็นคนอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1628 (พ.ศ.2127) ใกล้เบรนทรี เอสเซกซ์ พ่อเป็นช่างตีเหล็ก แต่ก็ส่งเสียลูกชายจนถึงขั้นจบมหาวิทยาลัย คือจบ เคมบริดจ์
เขาเกิดก่อนชาลส์ โรเบิร์น ดาร์วิน ผู้วางทฤษฎีแห่งการพัฒนาธรรมชาติ ซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยาชาติเดียวกับเขา เมื่อเขาเป็นผู้ริเริ่มงานทางด้านธรรมชาติ เขาจึงได้รับการยกย่องจากคนรุ่นหลัง ซึ่งได้อาศัยการริเริ่มของเขาเป็นบรรทัดฐานศึกษาค้นคว้าหาสิ่งใหม่ๆและความก้าวหน้าในวิชาแขนงนี้
จอห์น เรย์ ได้ทุ่มเทวิชาความรู้ และความสนใจต่อเรื่องราวของธรรมชาติจนมีผลงานดีเด่น และได้เข้าร่วมสมาชิก F.R.S. และในปี ค.ศ.1667 สมาคมทางพฤกษศาสตร์ และสัตววิทยาได้เอาชื่อของเขาไปตั้งเป็นอนุสรณ์คือ “The Ray Society”
โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle)
ชื่อ:โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle)
เชื้อชาติ:ชาวไอริช
มีชีวิตในช่วง:พ.ศ. 2170 - 2234
ผลงานที่สำคัญ:บิดาแห่งวิชาเคมี ผู้ศึกษาเรื่องความดัน และปริมาตรของก๊าซ
โรเบิร์ต บอยล์ : Robert Boyle |
เกิด วันที่
26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ (Munster) ประเทศไอร์แลนด์
(Ireland)
เสียชีวิต วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England) ผลงาน - ตั้งกฎของบอยล์ (Boyle's Law) ว่าด้วยเรื่องความดันอากาศ บอยล์เป็นนักเคมีคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกงานด้านเคมีอย่างจริงจัง ผลงานของเขา มีประโยชน์มากต่อวงการวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า กรค้นพบธาตุ การเผาไหม้ของโลหะ อีกทั้งเขาเป็นผู้ปรับปรุงเทอร์มอมิเตอร์ให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และประดิษฐ์หลอดแก้วสุญญากาศ ไม่เฉพาะงานด้านเคมีเท่านั้นที่สร้างชื่อเสียงให้กับบอยล์ งานด้านฟิสิกส์ เขาก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎของบอยล์ เป็นทฤษฎีที่สร้างคุณประโยชน์มากมาย และ เป็นรากฐานของการประดิษฐ์เครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ หลายชนิดเช่น เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องพ่นลม เครื่องยนต์ที่ใช้แรงกดดันของก๊าซ และเครื่องยนต์แบบจุดระเบิดภายใน บอยล์เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ ประเทศไอร์แลนด์ บอยล์เป็นบุตรชายคนสุดท้ายของท่านเอิร์ล แห่งคอร์ด (Earl of Cord) ซึ่งเป็นขุนนางผู้มั่งคั่ง ทำให้บอยล์มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี และมีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าทาง วิทยาศาสตร์ได้อย่างเต็มที่เนื่องจากบิดาของเขาก็ชื่นชอบเรื่องวิทยาศาสตร์เช่นกัน บอยล์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่วิทยาลัยอีตัน (Eton College) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนนี้เขาได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ละติน และ ฝรั่งเศส นอกจากนี้เขาได้เรียนภาษากรีก และฮิบรูด้วย เมื่อบอยล์อายุได้ 14 ปี บิดาของเขาได้ส่งเขาไปเรียนภาษาอิตาลี ที่ประเทศ อิตาลี ระหว่างที่บอยล์ได้เรียนที่ประเทศอิตาลี เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่งชื่อว่า เรื่องประหลาดของ นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่เขียนโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ทำให้เขามีความสนใจใน เรื่องวิทยาศาสตร์ และตั้งใจว่าจะต้องเรียนต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป บอยล์เดินทางกลับประเทศไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1644 ปรากฏว่าบิดาของเขาเสียชีวิตพร้อมกับทิ้งมรดกเป็นที่ดิน และปราสาทในสตอลบริดจ์เซทไซร์ (Stallbridge Doe Setshire) ไว้ให้เขา บอยล์ได้เดินทางกลับไปที่ประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง เพื่อศึกษาต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด (Oxfoerd University) หลังจากจบการศึกษา บอยล์ได้กลับบ้านและทำการทดลองค้นคว้าอย่างจริงจัง งานชิ้นแรดที่บอยล์ให้ความสนใจคือ ผลึก เพราะบอยล์ต้องการหาส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ จากการศึกษาบอยล์พบว่า ผลึกบางชนิดเกิดจากส่วนผสมและสารประกอบทาง เคมีบางชนิด ต่อมาเขาเริ่มศึกษาเกี่ยวกับเครื่องวัดความกดอากาศ จากผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน โดยเริ่มต้น จากเทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอ แต่เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้ใช้น้ำในการวัดซึ่งยังวัดอุณหภูมิได้ไม่ถูกต้องแม่นยำนัก บอยล์ได้นำ เทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอมาปรับปรุงให้มีประสิทะภาพมากขึ้นโดยใช้ปรอทแทนน้ำ ต่อมาบอยล์ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับความกดอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในเวลานั้นว่า อากาศมีน้ำหนักหรือไม่ และสภาพไร้อากาศหรือสุญญากาศเป็นไปได้หรือไม่ ในปี ค.ศ. 1657 บอยล์ได้อ่านหนังสือของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันท่านหนึ่ง ชื่อว่าออตโต ฟอน เกริเก (Otto von Guericke) เกี่ยวกับเครื่องสูบอากาศที่เขาประดิษฐ์ขึ้น บอยล์ได้นำเครื่องสูบอากาศของ เกริเกมาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความดันอากาศ โดยร่วมมือกับโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) และในปี ค.ศ. 1659 เขาก็สามารถ ปรับปรุงเครื่องสูบอากาศของเกริเกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้นำเครื่องสูบอากาศนี้มาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างก๊าซกับความดัน นอกจากนี้เขาได้สร้างห้องทดลองสุญญากาศขึ้นด้วย ในการทดลองครั้งแรกบอยล์ได้นำบารอมิเตอร์ใส่ลงไปในห้องทดลองสุญญากาศ จากนั้นเขาจึงใช้เครื่องสูบอากาศสูบอากาศ ในห้องทดลองออกทีละน้อย ๆ ปรากฏว่าปรอทในบารอมิเตอร์สูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งสูบอากาศออกไปมากเท่าไรปรอทก็ยิ่งสูงขึ้น นอกจากนี้บอยล์ยังได้แขวนนาฬิกาไว้ในห้องนั้น เมื่อนาฬิกามีเสียงดังขึ้นเพียงครั้งเดียวก็หายไป แสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่มีอากาศ เสียงก็ไม่สามารถดังได้ จากการทดลองครั้งนี้บอยล์สรุปว่าอากาศมีแรงดัน และเสียงไม่สามารถเดินทางได้ในที่ที่ไม่มีอากาศ ผลจากการทดลองครั้งนี้บอยล์ได้นำมาตั้งเป็นกฎชื่อว่า กฎของบอยล์ (Boyle's Law) กฎนี้กล่าวว่า ถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่ อุณหภูมิของก๊าซจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นปฏิภาคกลับกันกับความดัน หรือถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่ ความดันคงที่ อุณหภูมิก็จะคงที่ สามารถสรุปกฎข้อนี้ได้ว่าปริมาตรของก๊าซจะเพิ่ม - ลด ในอัตราส่วนที่เท่ากันเสมอ เช่น ถ้าเพิ่มความกดดันขึ้นเป็น 1 เท่า ปริมาตร ของอากาศจะลดลง 1 เท่า แต่ถ้าเพิ่มความกดดันเป็น 2 เท่า ปริมาตรของอากาศจะลดลงเป็น 2 เท่า ซึ่งกฎของบอยล์เป็นกฎที่ได้รับ การยกย่องกันมากในวงการฟิสิกส์ บอยล์ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1660 โดยใช้ชื่อหนังสือว่า New Experiment Physic Mechanical, Touching the spring of the Air, and its Effects เมื่อหนังสือเผยแพร่ออกไปกลับได้การ ตอบรับที่ไม่ดีนัก คนส่วนใหญ่มักเห็นว่ากฎของบอยล์เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงทำแสดงการทดลองครั้งใหญ่เพื่อแสดงให้คนได้เห็นความจริงข้อนี้ โดยการสร้างหลอดแก้วรูปตัวเจที่มีขนาด ความสูงถึง 12 ฟุต ส่วนปลายที่งอขึ้นมีความสูง 5 ฟุต ปิดทางส่วนปลายไว้ แล้วนำไปติดตั้งไว้บริเวณบันไดบ้านของเขา จากนั้น จึงเริ่มทำการทดลองโดยการเทปรอทใส่ลงในหลอดแก้ว ในขั้นต้นปริมาณปรอทอยู่ในระดับที่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง จากนั้นจึงเทปรอท เข้าไปในส่วนบนแล้วรีบผิดฝา และทำซ้ำเหมือนเช่นนั้นอีกหลายครั้งจนเห็นได้ชัดเจนว่าปรอทในข้างที่งอขึ้น มีระดับของปรอท สูงกว่าอีกด้านหนึ่ง ผลการทดลองครั้งนี้ทำให้ผู้ที่มาเฝ้าดูการทดลองครั้งนี้เห็นและเข้าใจในกฎของบอยล์ ในปี ค.ศ. 1661 บอยล์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า The Sceptical Chemist ซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านทฤษฎีของ อาริสโตเติลในเรื่องของส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ อาริสโตเติลกล่าวว่าธาตุทั้งหลายในโลกประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม และไฟ รวมถึงทฤษฎีของพาราเซลลัสที่ว่าธาตุประกอบไปด้วย ปรอท กำมะถัน และเกลือ บอยล์มีความเชื่อว่าธาตุทั้งหลายในโลก ประกอบไปด้วยสารประกอบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องได้รับการทดสอบเสียก่อนจึงจะรู้ได้ว่าธาตุชนิดนั้นประกอบไปด้วยสาร ชนิดใดบ้าง ไม่ใช่ตามทฤษฎีของอาริสโตเติลและพาราเซลลัส หนังสือของบอยล์เล่มนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากผู้คนที่เคยมี ความเชื่อถือในทฤษฎีเก่าของอาริสโตเติล เมื่อได้อ่านหนังสือของบอยล์แล้วก็มีความคิดที่เปลีรี่ยนไป ต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได ้ นำวิธีการของบอยล์ไปทดลอง ก็สามารถค้นพบธาตุใหม่ ๆ อีกจำนวนกว่า 100 ชนิด บอยล์ไม่ได้หยุดยั้งการค้นคว้าของเขาเพียงเท่านี้ เขายังทำการทดลองวิทยาศาสตร์ในแขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขา ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตและเสียง ในเรื่องของความเร็วของเสียงตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงปลายทาง และโครงสร้างของผลึกต่าง ๆ ส่วนวิชาเคมีบอยล์ก็ยังให้ความสนใจและทำการทดลองค้นคว้าอยู่เสมอ ซึ่งการทดลองครั้งหนึ่งของบอยล์ เกือบทำให้เขาค้นพบ ก๊าซออกซิเจน แต่เขาก็พบว่าสัตว์รวมถึงมนุษย์ด้วยไม่สามารถขาดอากาศได้ เพราะเมื่อใดที่ขาดอากาศก็จะต้องเสียชีวิต และกำมะถัน ก็ไม่สามารถลุกไหม้ในสภาพสุญญากาศได้ ในปี .ศ. 1666 บอยล์ได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Hydrostatics Paradoxes ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความถ่วง จำเพาะของวัตถุ บอยล์ได้ศึกษาเกี่ยวกับอะตอมของสาร เขาได้สรุปสมบัติอะตอมของสารไว้ว่า อะตอมของสารต่างชนิดกันจะมี การเคลื่อนที่แตกต่างกัน และได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Original of Forms Qualities According to the Corpuscular Philosophy บอยล์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นเคมี เขาก็ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเคมี ด้านฟิสิกส์ก็ได้รับการยกย่องมากจากการค้นพบกฎของบอยล์ และการประดิษฐ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างเทอร์มอมิเตอร์ และ บารอมิเตอร์ บอยล์ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ |
คริสเตียน บาร์นาร์ด (Dr. Christiaan Barnard)
แพทย์ผู้สร้างประวัติศาสตร์การเปลี่ยนหัวใจ
3 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ดร. คริสเตียน บาร์นาร์ด (Dr.Christiaan Barnard) ได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ของมนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก ที่เมืองเคปทาวน์ แอฟริกาใต้ โดยผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจให้กับคนไข้วัย 53 ปี ซึ่งหัวใจที่ได้นั้นมาจากหญิงสาววัย 25 ปีที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การผ่าตัดประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจกลับเสียชีวิตในอีก 18 วันต่อมา จากโรคแทรกซ้อนและการติดเชื้อในปอด
เสียงโทรศัพท์ที่สร้างประวัติศาสตร์
การแพทย์ดังขึ้น ขณะที่นายแพทย์คริสเตียน บาร์นาร์ด
กำลังงีบหลังอาหารมื้อเย็นอยู่ที่บ้านในเมืองเคปทาวน์แอฟริกาใต้
แม่ชีจากโรงพยาบาล กรูต ชูร์ แห่งเมืองเคปทาวน์
โทรมาบอกเขาว่ามีหญิงสาวผู้หนึ่งประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนในวันนั้น
สมองของหญิงผู้เคราะห์ร้ายได้รับความเสียหายมากจนไม่อาจรักษาได้
ถ้าเสียชีวิตลง
หัวใจของหญิงผู้นี้อาจนำมาใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นครั้งแรกของโลก
ได้ เธอมีหมู่เลือดตรงกับของผู้ป่วยที่รอรับบริจาคหัวใจ
และบิดาของเธอก็พร้อมที่จะให้ความยินยอม
3 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ดร. คริสเตียน บาร์นาร์ด (Dr.Christiaan Barnard) ได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ของมนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก ที่เมืองเคปทาวน์ แอฟริกาใต้ โดยผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจให้กับคนไข้วัย 53 ปี ซึ่งหัวใจที่ได้นั้นมาจากหญิงสาววัย 25 ปีที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การผ่าตัดประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจกลับเสียชีวิตในอีก 18 วันต่อมา จากโรคแทรกซ้อนและการติดเชื้อในปอด
จอห์น โลจี แบร์ด (John Logie Baird)
ในปี ค.ศ.1926 จอห์น โลจี แบร์ด (John Logie Baird) วิศวกรชาวสกอต ได้นำโทรทัศน์มาเผยแพร่เป็นครั้งแรก ในขณะเดียวกัน วลาดีมีร์ ซวอรีคิน (Vladimir Zworykin)
วิศวกรชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย ได้ประดิษฐ์หลอดภาพอิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งใช้งานได้ดีกว่าระบบของแบร์ด และได้กลายเป็นต้นแบบของเครื่องโทรทัศน์ในปัจจุบันสำหรับประเทศไทย คนไทยได้ดูโทรทัศน์จากสถานีโทรทัศน์ เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498 ซึ่งขณะนั้นยังถือเป็นวันชาติของไทย เริ่มเปิดสถานีเวลาสองทุ่ม เป็นการกล่าวปราศรัยของรองประธานกรรมการบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด พลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร จากนั้นมีการแสดงดนตรี นาฏศิลป์ การแสดงแบบเสื้อ ข่าว ละคร และสาระบันเทิงอื่นๆ
วิศวกรชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย ได้ประดิษฐ์หลอดภาพอิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งใช้งานได้ดีกว่าระบบของแบร์ด และได้กลายเป็นต้นแบบของเครื่องโทรทัศน์ในปัจจุบันสำหรับประเทศไทย คนไทยได้ดูโทรทัศน์จากสถานีโทรทัศน์ เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498 ซึ่งขณะนั้นยังถือเป็นวันชาติของไทย เริ่มเปิดสถานีเวลาสองทุ่ม เป็นการกล่าวปราศรัยของรองประธานกรรมการบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด พลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร จากนั้นมีการแสดงดนตรี นาฏศิลป์ การแสดงแบบเสื้อ ข่าว ละคร และสาระบันเทิงอื่นๆ
ลาวัวซิเอ (Lavoisier)
อังตวน อลเรนต์ ลาวัวซิเยร์ : Antoine Laurent Lavoisier
เกิด วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1743 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)
เสียชีวิต วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)
ผลงาน - พบสมบัติของการสันดาป หรือการเผาไหม้
หลังจากยุคของโรเบิร์ต บอลย์ (Robert Boyle) ผ่านมา วิชาเคมีก็มีความเจริญก้าวหน้ามาตลอด จนกระทั่งถึงยุคของ ลาวัวซิเยร์วิชาเคมียิ่งมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นไปอีก เนื่องจากผลงานการค้นพบทางเคมีของเขาหลายชิ้น
ลาวัวซิเยร์เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1743 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ครอบครัวของเขาถือว่าเป็นผู้ที่มั่งคั่งที่สุด ในปารีสก็ว่าได้ทั้งบิดาและมาตดาของเขาต่างก็มาจากตระกูลที่มั่งคั่งบิดาของ เขาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายแระจำรัฐสภา ชื่อว่า ฌาน อังตวน ลาวัวซิเยร์ (Jean Anton Lavoisier) ส่วนมารดาชื่อว่า เอมิลี่ ปุงตีส เป็นบุตรีของเลาขานุการ ของนายทหารเรือ ยศนายพลเรือโทและยังเป็นทนายความชื่อดัง อีกทั้งยังเป็นสมาชิกรัฐสภากรุงปารีสอีกด้วย เมื่อลาวัวซิเยร์อายุได้ 7 ปี มารดาเขา เสียชีวิต บิดาได้ส่งลาวัวซิเยร์ไปอยู่กับน้า เนื่องจากฐานะทางครอบครัวที่ร่ำรวยของลาวัวซิเยร์ทำให้เขาได้รับการศึกษาที่ ดีมาก หลังจากที่จบการศึกษาเบื้องต้นแล้ว พ่อของเขาก็ส่งเขาไปเรียนต่อวิชากฎหมายที่วิทยาลัยมาซาริน (Mazarin College) ด้วยพ่อ ของเขาต้องการให้เขาเป็นทนายเช่นเดียวกับพ่อและตานั่นเองในระหว่างที่ศึกษา อยู่ที่วิทยาลัยแห่งนี้ เขามีโอกาสได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ มากมาย รวมถึงวิชาวิทยาศาสตร์ด้วย ทำให้เมื่อเขาเรียนจบวิชากฎหมาย ลาวัวซิเยร์ก็ไม่ได้ประกอบอาชีพเป็นทนายความ แต่กลับ ไปศึกษาต่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แทน โดยเฉพาะวิชาเคมี ลาวัวซิเยร์เริ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ หรือวิชาอุตุนิยมวิทยา (Meteorology) โดยเขาใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิของอากาศวันละหลาย ๆ ครั้งแล้วจดบันทึก อุณหภูมิไว้ทุกครั้ง และทำเช่นนี้ทุกวันจนกระทั่งเขาเสียชีวิต และด้วยวิธีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศ ต่อมาเขา สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำ
ต่อมาในปี ค.ศ. 1765 ลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเคมี โดยครั้งแรกเขาได้ทดลองเกี่ยวกับแร่ยิปซัม (Gypsum) ภายหลังการทดลองลาวัวซิเยร์พบสมบัติของแร่ยิปซัมที่ว่าเมื่อนำแร่ยิปซัมมา เผาเพื่อทำปูนปลาสเตอร์จะมีไอน้ำระเหยออกมา และเมื่อ เย็นตัวลงจะหลายเป็นน้ำบริสุทธิ์ ซึ่งน้ำหนักเท่ากับปูนปลาสเตอร์ที่ผาได้จากแร่ยิปซัม และจากผลการทดลองครั้งนี้ลาวัวซิเยร์ได้ทำ รายงานเสนอต่อราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (France Academy Royal of Science) ให้กำหนด มาตราในการใช้เครื่องชั่ง ตวง วัด ในการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์เห็นด้วย และแต่งตั้งให้ ลาวัวซิเยร์ เป็นกรรมการศึกษาเรื่องนี้ในที่สุดลาวัวซิเยร์ก็ตกลงในระบบเมตริก (Metric system) ในการชั่ง ตวง วัด ซึ่ง ราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์ก็ตกลงเห็นชอบ และกำหนดให้ใช้ระบบเมตริกเป็นมาตราในการทดลองวิทยาศาสตร์ และยังคง ใช้ระบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ในปี ค.ศ. 1767 ลาวัวซิเยร์ได้รับเชิญจากศาสตราจารย์กูเอท์ตาด (J.E.Guettard) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแร่ธาตุและธรณีวิทยา ชาวฝรั่งเศส ให้ร่วมเดินทางไปกับคณะสำรวจทางธรณีวิทยา ที่จะทำการสำรวจหาแร่ธาตุ และลักษณะทางธรณีทั่วประเทศฝรั่งเศส จากการสำรวจครั้งนี้ ลาวัวซิเยร์ได้เขียนแผนที่แสดงทรัพยากรทางธรรมชาติภายในประเทศฝรั่งเศส แผนที่ฉบับนี้ถือว่าเป็นแผนที่ แสดงทรัพยากรธรณีฉบับแรกของฝรั่งเศส
ในปี ค.ศ. 1768 ขณะที่เขามีอายุเพียง 25 ปี ลาวัวซิเยร์ได้รับเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่ง ฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นเกียรติอย่างมาก เพราะสมาคมแห่งนี้เป็นที่รวมของนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ ทุกสาขาวิชา อีกทั้งผู้ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปี อีกทั้งสมาชิกในสมาคมนี้ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ให้กับรัฐบาล นอกจากราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์ เขายังได้รับเชิญจากองค์การแฟร์มเจอเนรอล (Ferme Generale) ซึ่งเป็นองค์การเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้รู้จักและแต่งงานกับมารีแอน พอลซ์ (Marie Ann Paulze) บุตรสาวของจาคส์ พอลซ์ (Jacques Paulze) ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในองค์การแฟร์ม เจอเนรอล มารีแอนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญ ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ของลาววัวซิเยร์ เพราะเธอมีความรู้หลายภาษา จึงแผลตำราวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ หลายท่าน อีกทั้งยังเป็นผู้วาดภาพประกอบลงในรายงานทางวิทยาศาสตร์ของลาวัวซิเยร์อีก ด้วย
ต่อมาลาวัวซิาเยร์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโรงงาน ผลิตดินปืนของรัฐอีกตำแหน่งหนึ่งเพราะเขา เป็นผู้เสนอต่อเทอร์โกต์ (Turgot) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังให้รัฐควบคุมกิจการดินปืนไว้เอง ด้วยในขณะนั้นภายในกรุงปารีส มีการผลิตดินปืนกันอย่างแพร่หลาย อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เทอร์โกต์ก็เห็นด้วยกับลาวัวซิเยร์ จึงสั่งห้ามมิให้ประชาชนผลิตดินปืน เอง โรงงานผลิตดินปืนของรัฐบาลฝรั่งเศสแห่งนี้สามารถทำรายได้ให้กับประเทศ ฝรั่งเศสอย่างมหาศาล ด้วยในขณะนั้นประเทศ สหรัฐอเมริกาได้ทำสงครามกอบกู้เอกราชกับประเทศอังกฤษ จำเป็นต้องใช้ดินปืนจำนวนมากในสงคราม จึงเป็นหนทางที่ดีของ ฝรั่งเศสที่จะจำหน่ายดินปืนให้กับสหรัฐอเมริกาในจำนวนมาก
แม้ว่าลาวัวซิเยร์จะต้องทำหน้าที่ในหน่วยราชการหลายอย่าง เขาก็ยังมีเวลาส่วนหนึ่งสำหรับการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยใน ปี ค.ศ. 1772 ลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองสมบัติของเพชรเขาทำการทดลองโดยการนำเพชรใส่ไว้ใน ภาชนะแก้วปิดสนิท และใช้ แว่นขยายรับแสงให้ถูกเพชรเพื่อให้เกิดไฟเผาเพชร ปรากฏว่าเพชรหายไป แต่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) เข้ามาอยู่ภายในภาชนะนั้นแทน แต่ถ้านำเพชรไปเผาในสูญญากาศ เพชรกลับไม่ไหม้ไฟ จากการทดลองพบว่าเพชรเป็นคาร์บอน ชนิดหนึ่ง เพราะเมื่อนำไปเผาไฟเพชรจะกลายเป็นก๊าซ เพชรจึงไม่ใช่สิ่งวิเศษอย่างที่เคยเข้าใจกันมา ซึ่งการค้นพบนี้โจเซฟ แบลค (Joseph Black) นักเคมีชาวสก๊อตได้เขียนไว้ในหนังสือของเขา ต่อจากนั้นลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองต่อไป โดยนำโลหะมาเผา ไฟในที่ที่จำกัดประมาณอากาศ เขาพบว่าไฟจะไหม้ไปจนกว่าอาการจะหมด เมื่ออากาศหมดไฟก็จะดับ ลาวัวซิเยร์ได้นำผลการ ทดลองรายงานให้กับราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส โดยเขาสรุปผลการทดลองว่าสิ่งที่รวมกับโลหะ จนเกิดเป็นกาก โลหะ หรือที่เรียกว่า Clax คือ อากาศที่บริสุทธิ์กว่าอากาศที่อยู่ในธรรมชาติเสียอีก และเมื่อนำ Clax เผารวมกันกับถ่านจะได้ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของก๊าซ โลหะ และคาร์บอน
ปี ค.ศ. 1783 ลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการเผาไหม้ของสารเคมี ซึ่งเกิดจากการทอลองเผาสารเคมีชนิดต่าง ๆ ของเขานั่นเอง ลาวัวซิเยร์สามารถค้นพบสมบัติของการเผาไหม้ของสารเคมีชนิดต่าง ๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การสันดาป" ว่าเกิดจากการรวมตัวกันอย่างรวดเร็วระหว่างสารที่ติดไฟได้ กับออกซิเจน ซึ่งเขาตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีการเผาไหม้ (Theory of Combustion) ผลงานการทดลองชิ้นนี้ทำให้ลาวัวซิเยร์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในฐานะของนักวิทยาศาสตร์ผู้คนพบ สาเหตุที่สสารต่าง ๆ ไหม้ไฟได้
ลาวัวซิเยร์สรุปทฤษฎีเกี่ยวกับการสันดาปออกเป็น 5 ข้อ ได้แก่
1. วัตถุจะไหม้ไฟได้ในเฉพาะที่ทีมีอากาศเท่านั้น
2. เมื่อนำอโลหะไปเผาไฟจะทำให้เกิดกรด (Acid) รวมถึงจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย
3. ในอากาศประกอบไปด้วยก๊าซ 2 ชนิด คือ ออกซิเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่ช่วยในการเผาไหม้และอาโซต (Azote)
4. ในการเผาไหม้จะไม่มีธาตุฟลยยิสตอน
5. เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้ของโลหะ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเสมอไป
การที่ลาวัวซิเยร์สามารถอธิบายถึงสาเหตุที่วัตถุไหม้ไฟได้ ทำให้สามารถลบล้างทฤษฎีฟลอยิสตอน (Phlogiston) ของจอร์จ เออร์เนส สตาห์ล (George Ernest Stahl) นักเคมีและนายแพทย์ ชาวเยอร์มัน โดยทฤษฎีนี้อธิบายเกี่ยวกับการไหม้ ของวัตถุว่า เกิดจากธาตุชนิดนั้นมีฟลอยิสตอนผสมอยู่ เมื่อนำวัตถุมาเผาไหม้และมีขี้เถ้า ทำให้น้ำหนักวัตถุลดลง นอกจากนี้เขายัง อธิบายถึงสาเหตุของวัตถุที่ไม่ติดไฟว่า เกิดจากไม่มีฟลอยิสตอนผสมอยู่ ทฤษฎีของสตาห์ลเป็นที่เชื่อถือในวงการวิทยาศาสตร์ นานกว่า 100 ปี แต่เมื่อลาวัวซิเยร์พบทฤษฎีเกี่ยวกับการสันดาปความเชื่นในทฤษฎีนี้ก็หมดไป
หลังจากนั้นลาวัวซิเยร์ทำการทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีการเผาไหม้เพิ่มเติมอีกจนสา มารรถตั้งกฎทรงมวลของสสาร (Law of the Conservation of Matter) อธิบายว่าสสารไม่สามารถสร้างขึ้นหรือทำให้หายไปได้ แต่สสารสามารถเปลี่ยนสถานะภาพได้ เช่น น้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำ จากทฤษฎีนี้เองได้นำลาวัวซิเยร์ไปสู่การทดลองเกี่ยวกับเผาไหม้ในร่างกาย มนุษย์ลาวัวซิเยร์ได้อธิบายว่าใน ร่างกายของมนุษย์ก็มีการเผาไหม้เช่นเดียวกัน คือ เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ก็จะถูกเปลี่ยนสภาพ หรือเผาผลาญ ให้เป็น พลังงาน และสิ่งที่ไม่ต้องการหรือขี้เถ้าก็จะถูกขับออกมาจากร่างกายในวิธีการต่าง ๆ เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ เป็นต้น และ ไม่เพียงอาหารเท่านั้น อากาศที่เราหายใจก็ต้องผ่านการเผาไหม้ที่ปอดเช่นเดียวกัน คือ เมื่อมนุษย์หายใจก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ปอดเพื่อ เปลี่ยนเลือดดำให้เป็นเลือดแดง ออกซิเจนที่ผ่านการเผาไหม้ก็จะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในปี ค.ศ. 1787 ลาวัวซิเยร์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง ชื่อว่า Method de Nomenclature Chimique เป็นเรื่อง เกี่ยวกับวิชาเคมีเบื้องต้น ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับวิชาเคมี และการเปลี่ยนชื่อสารเคมีบางชนิด ให้ถูกต้องตามสมบัติของสารชนิดนั้น อย่างแท้จริง ซึ่งมีมากมายกว่า 55 ชื่อเป็นต้นว่า Dephlogisticated air มาเป็น Oxygen เปลี่ยน Inflammable air แปลว่า สารติดไฟ มาเป็น Hydrogen หมายถึง ผู้ให้กำเนิดน้ำ ซึ่งชื่อสารเคมีที่ลาวัวซิเยร์เปลี่ยนยังเป็นชื่อที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี ค.ศ. 1789 ลาวัวซิเยร์ได้เขียนหนังสือขึ้นอีกเล่มหนึ่งว่า Traite Elementaire de Chimie ต่อมามีผู้แปลมาเป็น ภาษาอังกฤษโดยใช้ชื่อหนังสือว่า Elementary Treatise of Chemistry เป็นเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์
ในปี ค.ศ. 1790 ประเทศฝรั่งเศสต้องประสบภาวะที่ย่ำแย่ที่สุด ทั้งเศรษฐกิจ และการเมืองจนในที่สุดเกิดการปฏิวัติใหญ่ใน ฝรั่งเศส โดยสภาคณะปฏิวัติต้องการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ในฝรั่งเศส และกล่าวหาว่าพระมหากษัตริย์ พระบรม วงศานุวงศ์ และขุนนางข้าราชการสำนักกอบโกยแสวงหาผลประโยชน์จากแผ่นดิน และประชาชน สภาคณะปฏิวัติได้ยกกำลัง บุกเข้ายึดพระราชวังตูเลอรีส์ (Tuileries) และปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ด้วยวิธีกิโยตีน (Guillotine) เมื่องวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1793 ภายหลังจากพระเจ้าหลุยส์ถูกปลงพระชนม์ สภาคณะปฏิวัติได้สั่งยุบองค์แฟร์มเจอเนรัล พร้อมดับจับกุม ข้าราชการภายในองค์กรทั้ง 27 คน รวมทั้งลาวัวซิเยร์โดยสภาคณะปฏิวัติได้ตั้งข้อกล่าวหาคณะกรรมการทั้งหมดว่า ฉ้อราษฏร์ บังหลวง และกดขี่ข่มเหงประชาชนอย่างโหดร้าน แม้ว่าลาวัวซิเยร์จะปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แต่ศาลของสภาคณะปฏิวัติก็พิจารณา ว่าลาวัวซิเยร์ผิด และตัดสินประหารชีวิตเขาด้วยเครื่องกิโยตีน
ลาวัวซิเยร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกเลย ทีเดียว ผลงานชิ้นสุดท้ายของลาวัวซิเยร์ก่อนที่จะเสียชีวิต คือ การหาความหนาแน่นของน้ำ ลาวัวซิเยร์พบว่าที่อุณหภูมิ 4 องศา เซลเซียส น้ำจะมีความหนาแน่นมากที่สุด นอกจากนี้แล้วเขายังได้อธิบายเกี่ยวกับการเกิดสนิมในโลหะการลุกไหม้ของไม้ และการ ระเบิดของดินปืน ซึ่งล้วนแต่เกิดจากก๊าซออกซิเจนทั้งสิ้น
จอห์น ดอลตัน : John Dalton
อห์น ดอลตัน (John Dalton) นักวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี
จอห์น ดอลตันเป็นนักฟิสิกส์
และนักเคมีชาวอังกฤษผู้ค้นพบทฤษฎีอะตอม
ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงการวิทยาศาสตร์มากขึ้น
จอห์น ดอลตัน
เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1766
ที่เมืองคอกเกอร์เมาท์ ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่ยากจน
บิดาของเขาชื่อโจเซฟ จอห์น
จอห์น จอห์น ดอลตัน (Joseph Dalton) มีอาชีพเป็นช่างทอผ้า
เขามีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็กและตั้งใจว่าเมื่อโตขึ้นจะ
ต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ให้ได้
แล้วความตั้งใจของเขาก็เป็นจริง จอห์น
ดอลตันเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนของจอห์นเฟลทเชอร์ (John Fletcher)
ซึ่งใช้โรงสวดที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา
เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนและเมื่อมีผู้ต้องการใช้โรงสวดนี้ประกอบ
พิธีกรรม
โรงเรียนก็ต้องปิดทำการเมื่อโรงเรียนหยดจอห์น
ดอลตันมักใช้เวลาไปกับการหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องวิทยาศาสตร์อยู่เสมอไม่
เหมือนกับเด็กคนอื่นเมื่อโรงเรียนหยุดก็มักจะพากันเที่ยวเล่นอย่างสนุกสนาน
ต่อมาในปี ค.ศ. 1778 โรงเรียนแห่งนี้ต้องหยุดกิจการลง
ดังนั้นจอห์น ดอลตันจึงมีความคิดที่จะเปิดโรงเรียนขึ้นบ้าง
โดยใช้โรงนาเป็นสถานที่เรียนจอห์น ดอลตันเก็บค่าเรียนเป็นรายคน โดยเก็บคนละ 6 เพนนี
(Penny) ต่อสัปดาห์ แต่ต่อมาไม่นานโรงเรียนของจอห์น ดอลตันก็ต้องปิดกิจการลง
เนื่องจากชาวบ้านต้องการใช้สถานที่สำหรับประกอบพิธีทางศาสนา
ภายหลังจากที่โรงเรียนปิดจอห์น
ดอลตันได้นำเงินที่เกิดสะสมไว้เปิดร้านจำหน่ายหนังสือ และออกวารสาร ต่อมาในปี ค.ศ.
1781 จอห์น ดอลตันได้เข้าทำงานเป็นครูอีกครั้งหนึ่งที่โรงเรียน
ของพี่ชายเขาเองที่เมืองเคนดอล
วิทยาศาสตร์แขนงที่จอห์น ดอลตันให้ความสนใจมากที่สุด คือ
อุตุนิยมวิทยา (Meteorology) จอห์น
ดอลตันได้สร้างเครื่องมือเพื่อช่วยในการทดลองครั้งนี้ด้วย ได้แก่ บารอริเตอร์
(Barometer) ใช้สำหรับวัดความดันอากาศ เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer1)
ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิ และไฮโกรมิเตอร์(Hygrometer) ใช้สำหรับวัดความชื้นในอากาศ
จอห์น ดอลตันใช้เครื่องมือทั้ง 3 ชนิดนี้วัดสภาพความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ
และจดบันทึกไว้อย่างละเอียดเป็นประจำทุกวัน จนกระทั่วเขาเสียชีวิต
รายงานเรื่องนี้ของจอห์น ดอลตันมีมากมาย
เขาได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดลงในหนังสือชื่อว่า การสังเกตการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา
ซึ่งออกตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1783
ในปี ค.ศ. 1792 จอห์น
ดอลตันได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา
เขาศึกษาจนมีความชำนาญด้านนี้เป็นอย่างดี
และได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า ออร์ทัส ซิคคัส
ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพันธุ์พืชและสัตว์ มีจำนวน ถึง 11 เล่ม
จากผลงานชิ้นดังกล่าวจอห์น ดอลตันได้รับเชิญจากวิทยาลัยนิวคอลเลจ แมนเชสเตอร์
ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาปรัชญาธรรมชาติและคณิตศาสตร์
ต่อมาจอห์น ดอลตันได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองยอร์ค
ที่นี่เขาได้ทำงานเป็นครูพิเศษสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยเก็บค่าสอนเป็นรายชั่วโมงและในระหว่างนี้เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเคมี
และในปี ค.ศ. 1808 จอห์น ดอลตันได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งมีชื่อว่า A New System
of ChemicalPhilosophy เล่มที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอม (Atomic Theory)
โดยจอห์น ดอลตันเป็นคนแรกที่ค้นพบทฤษฎีนี้ในระหว่างปี ค.ศ. 1801 - 1803 ต่อมาในปี
ค.ศ. 1810 จอห์น ดอลตันได้พิมพ์หนังสือเล่มที่ 2 ชื่อว่า A New System of Chemical
Philosophy จากหนังสือทั้ง 2 เล่มนี้ สามารถอธิบายสมบัติของอะตอมได้ชัดเจนที่สุด
จอห์น ดอลตันสรุปเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมไว้ดังนี้
1. ธาตุต่าง ๆ ประกอบไปด้วยอนุภาคเล็ก ๆ จำนวนมาก และอนุภาคเล็ก ๆ เหล่านี้ เรียกว่า "อะตอม (Atoms)"2. อะตอมของธาตุต่าง ๆ ก็มีลักษณะ และน้ำหนักประจำเฉพาะของธาตุนั้น3. สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของสสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป และต้องเป็นไปในอัตราส่วนที่เลขลงตัวเสมอ เช่น อัตราส่วนเป็น 4 : 1 เสมอ จะไม่เป็น 4.1 : 1 เด็ดขาด4. อะตอมไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ หรือทำลายให้สิ้นสูญไปได้5. อะตอมเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ในส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของธาตุ ซึ่งไม่สามารถแยกออกไปได้อีก
นอกจากนี้เขายังใช้สัญลักษณ์แทนอะตอมของธาตุ
และสารประกอบด้วย เช่น แทน ไฮโดรเจน, แทนออกซิเจน, แทน คาร์บอน, แทน
คาร์บอนไดออกไซด์, แทน คาร์บอนมอนอกไซด์ จากการค้นพบดังกล่าว จึงถือได้ว่าจอห์น
ดอลตันเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ค้นพบสมบัติของอะตอม และกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ
เกี่ยวกับอะตอม
หลังจากนั้นจอห์น ดอลตันได้ทดลองเรื่องความดันของก๊าซ
จอห์น ดอลตันได้ตั้งกฎว่าด้วยความดันย่อย (Dalton's Low of Partial
Pressures)โดยมีใจความสำคัญว่า เมื่อธาตุถูกกดดันมาก ๆ
จะเกิดการเสียดสีกันของโมเลกุลทำให้เกิดความร้อน
ต่อจากนั้นเขาได้ตั้งกฎเกี่ยวกับการระเหยของของเหลว (Evaporation of Liquids)
ภายหลังจากการทดลอง จอห์น ดอลตันพบว่า "ของเหลวจะระเหยกลายเป็นไอได้มากหรือน้อย
มีอุณหภูมิเป็นตัวแปรสำคัญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น"
นอกจากนี้เขายังค้นคว้าเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ตาบอดสี
(Color - Blindness)
เขาได้อธิบายสาเหตุของตาบอดสีว่าเกิดจากความผิดปกติของสารที่ทำหน้าที่แปรผลของสี
การที่จอห์น ดอลตันค้นคว้าเรื่องนี้ เนื่องจากน้องชายของเขาตาบอดสีนั่นเอง
จอห์น ดอลตันเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1844
ที่เมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester) ประเทศอังกฤษ
กูกลิเอลโม มาร์โคนี : Guglielmo Marcony
กูกลิเอลโม มาร์โคนี : Guglielmo Marcony |
เกิด วันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1874 ที่เมืองโบโลญญา (Bologna) ประเทศอิตาลี (Italy) เสียชีวิต วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1937 ที่กรุงโรม (Rome) ประเทศอิตาลี (Italy) ผลงาน - ประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุโทรเลข - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1907 จากผลงานการค้นคว้าวิทยุ วิทยุโทรเลขเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดชนิดหนึ่ง อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและ เวลา เนื่องจากวิทยุโทรเลขไม่จำเป็นต้องใช้สายโทรเลขในการเชื่อมโยงเครื่องโทรเลขจากเครื่องหนึ่งถึงเครื่องหนึ่ง และที่มี ประโยชน์อย่างมากก็คือใช้ในกิจการเดินเรือ ที่สามารถส่งข่าวสารต่าง ๆ จากเรือมาสู่บนฝั่งได้ วิทยุสื่อสารชิ้นนี้ยังมีประโยชน์ และบทบาทอย่างมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จากการที่กองทัพได้ไปใช้ในการส่งข่าวสารจากที่ที่ห่างไกลกันมากได้อย่าง รวดเร็ว และสะดวกสบาย มาร์โคนีเกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1874 ที่เมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลี ในตระกูลที่ร่ำรวย บิดาของเขาชื่อว่า กีเซป มาร์โคนี ส่วนมารดาของเขาชื่อว่า แอนนี เจมส์สัน มาร์โคนีมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้ามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งบิดาของเขาก็ให้ การสนับสนุนเป็นอย่างดี และได้จ้างครูมาสอนวิชาไฟฟ้าให้กับมาร์โคนีอีกด้วย เขาได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนประจำเมือง ฟลอเรนซ์ (Florence) ต่อจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคเล็กฮอร์น นอกจากการศึกษาภายในโรงเรียนแล้ว เขายังได้ศึกษาตำราไฟฟ้าของนักฟิสิกส์ชาวสก๊อต เจมส์ คลาร์ก แมกเวล (James Clark Maxwell) ผลงานของแมกเวล มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้มาร์โคนีมีความสนใจในวิชาฟิสิกส์ อีกทั้งเขาได้ขอร้องบิดาให้จ้างครูมาสอนวิชาฟิสิกส์ ให้กับเขาที่บ้านอีกด้วย ซึ่งบิดาก็ได้ปฏิบัติตามคำขอร้องของเขา นอกจากนี้เขายังมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องอีเทอร์ที่เป็นตัวกลาง ให้คลื่นแห่ง เหล็กไฟฟ้าเดินทมงจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้ ในปี ค.ศ.1894 มาร์โคนีได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวที่เทือกเขาแอลป์ในประเทศอิตาลีนั่นเอง เขาได้มีโอกาสได้อ่าน วารสารทางวิทยาศาสตร์ฉบับหนึ่ง หนังสือเล่มนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในปี ค.ศ.1886 ของไฮน์ริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์ (Hirich Rudolph Hertz) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ประกอบกับการมีความรู้เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็น อย่างดี จากอาจารย์สอนพิเศษของเขาหลายท่าน ทำให้มาร์โคนีเกิดความคิดว่าคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าน่าจะมีประโยชน์ในการ ส่งสัญญาณโทรเลข โดยไม่ต้องอาศัยสายโทรเลขในการส่งสัญญาณ ต่อมาในปี ค.ศ.1895 เมื่อมาร์โคนีเดินทางกลับจากการท่องเที่ยว เขาได้เริ่มต้นการค้นคว้าทดลองเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยสิ่งประดิษฐ์ทางไฟฟ้าชิ้นแรกของมาร์โคนี คือ กริ่งไฟฟ้าไร้สาย โดยเขาได้ติดตั้งกริ่งไว้ที่ชั้นล่าง ส่วนสวิตช์ไว้ชั้นบนของ บ้าน เมื่อกดสวิตช์ที่อยู่นั้นบนกริ่งที่อยู่ชั้นล่างกลับดังขึ้น ทั้งที่ไม่มีสายไฟเชื่อมต่อระหว่างสวิตช์และกริ่ง จากนั้นมาร์โคนีได้นำ กระดิ่งออกไปไว้กลางครามและกดสวิตช์ ภายในบ้านกริ่งก็ดังขึ้นอีก สิ่งประดิษฐ์ของเขาชิ้นนี้อาศัยหลักการของเอดูร์ บรองลี นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งประดิษฐ์เครื่องรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเครื่องรับสัญญาณประกอบไปด้วยหลอดแก้ว ซึ่งภายในบรรจุผงโลหะสำหรับเป็นตัวนำไฟฟ้า ส่วนเครื่องส่งมาร์โคนีอาศัยหลักการจากเครื่องส่งของเฮิรตซ์ บิดาของมาร์โคนี ชอบสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้มาก และได้มอบเงินให้กับมาร์โคนีถึง 250 ปอนด์ จากความสำเร็จในการสร้างกริ่งไฟฟ้าไร้สาย มาร์โคนีจึงทำการประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุโทรเลขขึ้นในปี ค.ศ.1897 และทำการทดลองส่งวิทยุโทรเลขไร้สาย จากความช่วยเหลือของพี่ชายของเขา แอลฟอนโซ มาร์โคนี ให้พี่ชายคอยรับฟัง สัญญาณอยู่ที่บ้าน จากนั้นมาร์โคนีได้เดินห่างจากบ้านไปประมาณ 1 ไมล์ แล้วส่งสัญญาณโทรเลขเข้ามา เขาได้ตกลงกับ พี่ชายว่าถ้าได้รับสัญญาณให้ยกธงขึ้น เมื่อทดสอบระยะทาง 1 ไมล์ เป็นผลสำเร็จ มาร์โคนีได้ปรับปรุงวิทยุโทรเลขให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น และทำการทดสอบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถส่งได้ระยะไกลกว่าเดิม และได้ทดสอบส่งสัญญาณผ่านภูเขา ปรากฏว่าสัญญาณจากวิทยุสามารถส่งผ่านภูเขามาได้ ในเวลาต่อมามาร์โคนีได้นำผลงานของเขาชิ้นนี้เสนอต่อรัฐบาลอิตาลี แต่ทางรัฐบาลไม่สนใจและเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ในปี ค.ศ.1896 เขาและมารดาจึงได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อนำผลงานชิ้นนี้เสนอต่อรัฐบาลอังกฤษ เมื่อมาถึงประเทศ อังกฤษมาร์โคนีต้องได้รับความลำบากเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตรวจค้นกระเป๋าของเขาอย่างละเอียด อีกทั้งเมื่อเจ้าหน้าที่ พบวิทยุโทรเลข เกิดเข้าใจผิดว่าเป็นอาวุธสงคราม ทำให้วิทยุโทรเลขได้รับความเสียหาย มาร์โคนีได้นำผลงานชิ้นนี้เสนอต่อ ซอร์ วิลเลี่ยม พรีซ (Sir William Preze) นายช่างเอกแห่งกรมไปรษณีย์โทรเลขแห่งอังกฤษ และท่านผู้นี้เองที่ให้การสนับสนุน มาร์โคนีในเรื่องของห้องทดลอง เป็นผู้ช่วยสำปรับปรุงวิทยุโทรเลข อีกทั้งได้มอบโอกาสให้กับเขาในการสาธิตวิทยุโทรเลขให้กับ รัฐบาลอังกฤษได้ชม โดยการทดลองส่งสัญญาณจากโต๊ะหนึ่ง เพื่อให้กริ่งอีกโต๊ะหนึ่งดัง เมื่อทุกคนได้ยินกริ่งดังต่างก็ตื่นเต้น ในผลงานชิ้นนี้ และรับผลงานของมาร์ดคนีไว้ในการสนับสนุน ต่อมามาร์โคนีได้ทำการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขจากอาคาร ไปรษณีย์โทรเลข ไปยังอาคารของธนาคารออมสิน ซึ่งห่างประมาณ 2 ไมล์ ผลการทดลองประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้ว่า การส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขในช่วงแรกของมาร์โคนีส่งได้เพียงรหัสมอร์สเท่านั้น แต่ก็ถือได้ว่าวิทยุโทรเลขเป็นเครื่องมือสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากนั้นเขาได้พัฒนาวิทยุโทรเลขของเขาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในปี ค.ศ.1897 วิทยุโทรเลขของมาร์โคนีสามารถส่งสัญญาณผ่านช่องแคบอังกฤษได้เป็นผลสำเร็จ จากผลงานชิ้นนี้ทำให้ เขามีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลประเทศอิตารลีที่เคยปฏิเสธเขามาก่อนก็หันมาให้ความสนใจ และเห็นคุณค่าในความสามารถของมาร์โคนี อีกทั้งทางรัฐบาลอิตาลีได้เชิญให้มาร์โคนีกลับไปยังประเทศอิตาลี มาร์โคนีปฏิบัติ ตามคำเชิญของทางรัฐบาล เมื่อเขาเดินทางถึงประเทศอิตาลีเขาได้แสดงการส่งสัญญาณจากบนฝั่งไปยังเรือ ที่อยู่ห่างจากชายฝั่ง ถึง 12 ไมล์ หลังจากนั้นมาร์โคนีได้เดินทางกลับไปยังประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่งเพื่อเปิดบริษัทวิทยุโทรเลข โดยใช้ชื่อว่า บริษัทวิทยุโทรเลขมาร์โคนี (Marcony's Wireless Telegraph Company Limit) กิจการส่งวิทยุโทรเลขของเขา มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ เพราะทั้งกิจการเดินเรือทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเรือรบ เรือเดินสมุทรและหอประภาคาร ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเดินเรือ ต่างก็ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในปี ค.ศ.1901 มาร์โคนีได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อตั้งสถานีรับส่งสัญญาณโทรเลข จากนั้นในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ.1901 ได้ทำการส่งสัญญาณจากสถานีที่ประเทศอังกฤษมายังประเทศสหรัฐอเมริกา รวมระยะทางถึง 3,000 ไมล์ แม้ว่าการสื่อสารด้วยวิทยุโทรเลขจะเป็นการสื่อสารที่มีความทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น แต่ก็ส่งสัญญาได้เพียงรหัสมอร์ส เท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ.1906 นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เรจินาลย์ เฟสเซนเดน สามารถพบวิธีแปลงสัญญาณวิทยุโทรเลขให้เปลี่ยน เป็นเสียงได้สำเร็จ และมีการทดลองส่งสัญญาณเสียงครั้งแรกของโลกในวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ.1906 แม้ว่ามาร์โคนีจะไม่ใช ่ผู้ค้นพบ แต่เขาก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียงให้มีความเจริญก้าวหน้า และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในปี ค.ศ.1909 มาร์โคนีได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับคาร์ล เฟอร์ดินานด์ บราวน์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน โดย มาร์โคนีได้รับจากผลงานการประดิษฐ์วิทยุโทรเลข ส่วนบราวน์ได้รับจากการปรับปรุงเทคโนโลยีการกระจายเสียง และในปีเดียว กันนี้มาร์โคนีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวุฒิสมาชิก มาร์โคนีเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและได้รับเกียรติจากรัฐบาลอิตาลีอย่างมาก ดังจะ เห็นได้จากในปี ค.ศ.1912 มาร์โคนีได้เป็นตัวแทนรัฐบาลอิตาลีในการเซ็นสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส และในปี ค.ศ.1929 เขา ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นมาร์ควิส จากพระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอล และยศท่านเซอร์จากพระเจ้ายอร์ชที่ 5 ของอังกฤษ (King George V of England) เนื่องจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้ติดตั้งสัญญาณวิทยุโทรเลขให้กับกองทัพเรือ ของอังกฤษ มาร์โคนีได้พยายามพัฒนากิจการวิทยุให้มีความเจริญมากขั้น ในปี ค.ศ.1917 ได้ออกเดินทางโดยเรือยอร์ชส่วนตัวที่เขา ตั้งชื่อว่า อิเลคตรา (Electra) และได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กลางทะเล ต่อมาอีก 2 ปี มาร์โคนีได้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียง ขึ้นที่เชล์มฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของโลกที่ทำการกระจายเสียงอย่าง เป็นรูปแบบ กิจการวิทยุโทรเลขและการกระจายเสียงมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และสามารถส่งสัญญาณไปยังที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก มาร์โคนีเสียชีวิตในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1937 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาสถานีวิทยุกระจายเสียง ได้หยุดการกระจายเสียงเป็นเวลา 2 นาที ในช่วงบั้นปลายชีวิตของมาร์โคนีเขาได้ค้นพบคลื่นวิทยุสั้น ๆ ที่สามารถส่งสัญญาณ ไปได้ไกลเป็นผลสำเร็จคลื่นวิทยุชนิดนี้รู้จักกันดีในชื่อว่า วิทยุคลื่นสั้น ในปัจจุบัน กิจการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงได้พัฒนารูปแบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นสื่อที่มีความจำเป็น อย่างมากต่อการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วิทยุกระจายเสียงที่ใช้เป็นสื่อทางด้านความบันเทิง และการส่งข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ การสื่อสารของยานพาหนะชนิดต่าง ๆ เช่น เรือโดยสาร เรือเดินทะเล เครื่องบิน ยานอวกาศ เป็นต้น หรือแม้ กระทั่ง การติดต่อสื่อสารระหว่างคน 2 คน ก็ล้วนแต่มีความสำคัญและได้รับประโยชน์จากเครื่องมือสื่อสารชนิดนี้ทั้งสิ้น |
ออร์วิลล์ ไรท์ (Orville Wright)
พี่น้องตระกูลไรท์ ผู้สร้างเครื่องบินได้สำเร็จเป็นคนแรก (The Wright Brothers)
ออร์วิลล์ ไรท์ (Orville Wright) 1871-1948
วิลเบอร์ ไรท์ (Wilbur Wright) 1867-1912
ออร์วิลล์ และ วิลเบอร์ ไรท์ เป็นสองพี่น้องชาวอเมริกันผู้สร้างเครื่องบินได้สำเร็จเป็นคนแรกของโลก
ในปี 1878 มิลตัน พ่อของ ออร์วิลล์ และ วิลเบอร์ ได้ซื้อเฮลิคอปเตอร์ของเล่นให้ลูกชายทั้งสองเล่น เด็กชายทั้งสองจึงได้ลองสร้างเฮลิคอปเตอร์ของตัวเองขึ้นมา และบอกในภายหลังว่า ประสบการณ์นี้เป็นสิ่งที่จุดประกายให้พวกเขาสนใจเรื่องการบิน
สองพี่น้องร่วมกันทำธุรกิจด้านการพิมพ์ในปี 1889 และตามด้วยธุรกิจร้านซ่อมจักรยานในปี 1892 ซึ่งพวกเขาทำเพื่อหาเงินทุนมาค้นคว้าทดลองเรื่องการบิน ในสมัยนั้นมีนักประดิษฐ์มากกมายทดลองวิธีการบินหลายรูปแบบ และมีหลายคนเสียชีวิตเนื่องจากไม่สามารถควบคุมเครื่องบินขณะบินอยู่ได้
พี่ น้องตะกูลไรท์ได้สังเกตรูปร่างที่เปลี่ยนไปของปีกนกขณะที่บิน นี่ทำให้พวกเขาได้ความคิดเรื่อง “Wing Warping” หรือปีกที่สามารถบิดเปลี่ยนรูปร่างเพื่อให้เครื่องบินเปลี่ยนทิศทางได้กลาง อากาศ
ตั้งแต่ช่วงปี 1900-1902 สองพี่น้องทำการทดลองเป็นร้อยๆครั้ง โดยสร้างว่าวรูปเครื่องบินปีกสองชั้นและอุโมงค์ลมจำลองที่สร้างขึ้นเองเพื่อ พัฒนาเทคนิค Wing Warping และหางเสือเครื่องบิน
ในปี 1903 พี่น้องตระกูลไรท์ได้สร้าง Wright Flyer I ขึ้นมา ซึ่งเป็นเครื่องบินทำจากไม้ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์น้ำหนักเบา การทดลองบินประสบความสำเร็จ โดยเครื่องสามารถบินอยู่ในอากาศได้ 59 วินาทีต่อครั้ง หลัง จากนั้น ทั้งสองได้พัฒนาเครื่อง Flyer II และ III ซึ่งมีการควบคุมที่ดีกว่าขึ้นมา วิลเบอร์เป็นผู้ขับเครื่อง Flyer III ไปได้ไกลถึง 24.5 ไมล์ และลงจอดได้อย่างปลอดภัย
ณ จุดนี้สองพี่น้องยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เนื่องจากพวกเขายังไม่ได้ยื่นขอสิทธิบัตรและยังคงเก็บสิ่งประดิษฐ์ทุกอย่างเป็นความลับ พวกเขาเริ่มถูกเย้ยหยันโดยผู้คนในยุโรป เฉพาะอย่างยิ่งโดยหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส และสื่ออเมริกันก็ไม่ได้ให้ความสนใจ
หลังมีการยื่นข้อเสนอให้สองพี่น้องตระกูลไรท์ ในที่สุดพวกเขาก็ยอมทดลองบินต่อหน้าสาธารณะทั้งในฝรั่งเศสและในสหรัฐ และทั้งคู่ได้กลายเป็นคนดังทั่วโลกเพียงชั่วข้ามคืน หลังจากนั้น สองพี่น้องต้องใช้เวลาหลายปีต่อสู้ในศาล เนื่องจากมีนักประดิษฐ์คนอื่นพยายามหาประโยชน์จากช่องโหว่ในสิทธิบัตรของพวกเขา
บริษัท ไรท์ คอมปานี ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1909 โดยดำเนินธุรกิจผลิตเครื่องบินและฝึกสอนนักบินใหม่
วิ ลเบอร์เสียชีวิตในปี 1912 ด้วยอายุเพียง 45 จากไข้ไทฟอยด์ ส่วนออร์วิลล์ขายบริษัท ไรท์ คอมปานี ในปี 1915 และเข้าทำงานราชการในหน่วยงานด้านการบิน โดยรับตำแหน่งใน คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการออกแบบและสร้างอากาศยานแห่งชาติ (National Advisory Committee for Aeronautics) ซึ่งองค์กรนี้ได้กลายมาเป็นองค์การนาซ่า (NASA) ในภายหลัง ออร์วิลล์เสียชีวิตในปี 1948
อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell)
อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ : Alexander Graham Bell |
เกิด วันที่
3 มีนาคม ค.ศ.1847 ที่เมืองเอดินเบิร์ก (Edinburg) ประเทศสก็อตแลนด์
(Scotland)
เสียชีวิต วันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.1922 ที่เมืองโนวา สโคเทีย (Nova Scotia) ผลงาน - ประดิษฐ์โทรศัพท์ ในปี ค.ศ.1876 - ก่อตั้งสมาคมแนะนำ และสอนคนหูพิการ ชื่อว่า American Association to Promote the Teaching of Speech to Deaf การติดต่อสื่อสารถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากทั้งในอดีต ปัจจุบัน รวมถึงต่อไปอนาคต ในอดีตมนุษย์ใช้วิธีการส่งข่าวสาร ถึงกันด้วยวิธีต่าง ๆ มากมาย เช่น ใช้นกพิราบ ควันไฟ เป็นสัญญาณ หรือการใช้มนุษย์เดินทางส่งข่าวสาร ซึ่งแต่ละวิธีที่ได้กล่าวมา ล้วนแต่ล่าช้า ไม่สะดวก อีกทั้งเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ต่อมาแซมมวล มอร์ส นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์โทรเลขทำให้ การสื่อสารมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นอีกลำดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถส่งคำพูดได้ จนกระทั่งเบลล์สามารถประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้น สำเร็จ ทำให้การสื่อสารมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ในปัจจุบันโทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีความสำคัญมากสำหรับการ ติดต่อสื่อสารเพราะสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย และเวลา เบลล์เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1847 ที่เมืองเอดินเบิร์ก (Ddinburg) ประเทศสก๊อตแลนด์ (Scotland) บิดาของเขา เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาษาที่ใช้สำหรับคนหูพิการ ชื่อว่า อเล็กซานเดอร์ เมลวิน เบลล์ (Alexander Melvin Bell) การที่บิดา ของเบลล์ได้ศึกษาเกี่ยวกับคนหูพิการ เพราะปู่ของเบลล์ได้ศึกษาเรื่องนี้มาก่อน อีกทั้งมารดาของเขาก็เป็นคนหูพิการ และเพราะเหตุ นี้เองทำให้เบลล์สามารถใช้ภาษาใบ้ อ่านริมฝีปาก และแยกแยะเสียงได้อย่างละเอียด โดยทั้งหมดนี้เบลล์ได้รับการถ่ายทอดมาจาก บิดาของเขานั่นเอง เบลล์มีพี่ชายคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตด้วยโรควัณโรค แม้ว่าเบลล์จะโชคดีที่ไม่เสียชีวิต แต่เขาก็ติดโรคมาจากพี่ชาย ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สุขภาพของเบลล์จึงไม่ค่อยดีนัก เบลล์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนเอดินเบิร์ก (Edinburg School) จากนั้นเบลล์ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยลอนดอน (London University) เมื่อจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ลอนดอน เบลล์ได้เดินทางไปประเทศเยอรมนี เพื่อเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวูซเบิร์ก จนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1867 หลังจากจบการศึกษาเบลล์ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของบิดาในการสอนและพัฒนาคนหูพิการ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1870 อาการ ป่วยของเบลล์ได้ทรุดหนักขึ้น เบลล์จึงเดินทางพร้อมกับบิดาไปอยู่ที่เมืองออนตาริโอ (Ontario) ประเทศแคนาดา (Canada) ตามคำแนะนำของแพทย์ว่าควรไปพักในสถานที่ที่มีออนตาริโอ (Ontario) ประเทศแคนนาดา (Canada) ตามคำแนะนำของ แพทย์ว่าควรไปพักในสถานที่ที่มีอากาศดี เมื่อเขารักษาตัวจนอาการทุเลาลง เบลล์ได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America) และเข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์สอนการออกเสียงที่มหาวิทยาลัยบอสตัน (Boston University) จากความสามารถของเบลล์ เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาสรีรวิทยาว่าด้วยเรื่องเสียง เบลล์ได้พยายามประดิษฐ์ เครื่องมือสำหรับคนหูพิการให้มีโอกาสได้ยินเสียงเหมือนเช่นคนปกติ ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นโทรศัพท์ ด้วยความที่เบลล์เป็นคนที่ชอบเล่นเปียโน วันหนึ่งเขาสังเกตว่าเสียงเพลงจากเปียโนเกิดจากการสั่นสะเทือนของเส้นลวด เพราะฉะนั้นเส้นลวดน่าจะเป็นตัวนำเสียงจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ ในปี ค.ศ.1873 เบลล์ได้ทำงานเป็นครูสอนหนังสือใน โรงเรียนคนหูพิการที่เมืองบอสตัน และต่อมาเบลล์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สรีรวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต และเสียง และในระหว่างนี้เบลล์ได้ทำการทดลองค้นคว้าเพื่อจะส่งเสียงตามสาย เขาได้ร่วมมือกับโทมัส เอ. วัตสัน (Thomas A. Watson) ผู้ช่วยของเขา ซึ่งเป็นลูกชายเจ้าของร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้า ที่เบลล์ได้ซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับการทดลองเป็นประจำ ทั้งสองประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์โทรศัพท์ในปี ค.ศ.1876 โดยการใช้เส้นลวดโยงจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง ส่วนปลายทั้งสองข้างจะเป็นหูฟัง ซึ่งภายในประกอบไปด้วยแท่งแม่เหล็กพันด้วยทองแดง ต่อจากนั้นจะเป็นแผ่นเหล็กบาง ๆ เพื่อ พูดใส่กระบอกนี้จะเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวด แต่ผลการทดลองในครั้งแรกยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่สามารถเข้าใจในคำพูดที่ส่งมาทางโทรศัพท์ได้ แต่ก็ประสบความสำเร็จในการส่งเสียง ต่อมาอีก 8 เดือน ทั้งสองได้ ปรับปรุงโทรศัพท์ให้ดีขึ้น คำพูดแรกที่ใช้ในการส่งข้อความทางโทรศัพท์ครั้งนี้ คือ "คุณวัตสันมานี้หน่อย ผมต้องการคุณ" การที่เบลล์พูดเช่นนี้ก็เพราะเขาได้ทำกรดแบตเตอรี่หกรดเสื้อ เขาเรียกวัตสันจากห้องหนึ่ง วัตสันได้ยินคำพูดของเบลล์ได้อย่าง ชัดเจน ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1876 เบลล์ได้นำโทรศัพท์เข้าประกวดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เมืองฟิลลาเดลเฟีย (Philadelphia) และ ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมในครั้งนี้ด้วย ในช่วงแรกไม่มีกรรมการคนใดให้ความสนใจในสิ่งประดิษฐ์ของเบลล์เลย แม้ว่า เบลล์จะพยายามอธิบายถึงประโยชน์ของโทรศัพท์ แต่เบลล์ก็ยังโชคดีอยู่มาก เมื่อมีกรรมการท่านหนึ่งชื่อ โดม ปริโด รู้จักและนับถือ เบลล์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง และครูสอนคนหูพิการ และเมื่อปริโดได้ทดลองเอาหูแนบตรงหูฟัง ซึ่งเมื่อเขาได้ยินเสียงคนพูด ออกมาจากหูฟัง เขารู้สึกตื่นเต้นมากพร้อมกับอุทานออกมาด้วยเสียงอันดัง จนกรรมการที่อยู่บริเวณนั้นเดินเข้ามาดู เมื่อทุกคนทดลอง เอาหูแนบกับหูฟัง และได้ยินเสียงคนพูดออกมา ต่างก็ตื่นเต้นและประหลาดใจมาก และในปีเดียวกันเบลล์ได้เปิดบริษัทร่วมกับวัตสันผู้ช่วยของเขา เพื่อดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1876 เบลล์ได้ดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์จากแบรนด์ฟอร์ดถึงออนตาริโอ ประเทศแคนาดา รวมระยะทาง 8 ไมล์ ต่อมาอีก 2 เดือน เบลล์ได้ติดตั้งโทรศัพท์แบบ 2 ทาง ได้เป็นผลสำเร็จ จากนั้นเขาจึงดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์จากบอสตันไปยังแมสซาชูเซส รวมระยะทาง 2 ไมล์ กิจการของเบลล์ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี จนกระทั่งปี ค.ศ.1876 บริษัทของเบลล์ได้ถูกฟ้องร้องจาก บริษัท เวสเทิร์น ยูเนียน เทเลกราฟ (Western Union Telegraph Company) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโทรเลข แต่ในที่สุดศาลได้ตัดสินให้เบลล์ชนะคดี เบลล์ได้นำโทรศัพท์ของเขาไปจดทะเบียนสิทธิบัตร และก่อตั้งบริษัทขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า บริษัท อเมริกันเบลล์ เทเลโฟน (American Bell Telephone Company) จากผลงานชิ้นนี้ทำให้เบลล์มีชื่อเสียง และเงินทองมากขึ้น เบลล์ได้บริจาคเงินส่วนหนึ่งในการก่อตั้งสมาคมเพื่อคนหูพิการ ชื่อว่า American Association to Promote the Teaching of Speech of Deaf นอกจากนี้เขายังให้การสนับสนุนการวิจัย เกี่ยวกับการบิน ต่อมาในปี ค.ศ.1915 เบลล์ได้รับเชิญไปเปิดผลงานในโอกาสที่ดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์ข้ามทวีป เป็นครั้งแรก โดยเบลล์ได้พูดสนทนากับวัตสันในคำพูดเดิม คือ "คุณวัตสันมานี้หน่อย ผมต้องการคุณ" |
ริชาร์ด ไฟย์แมน
ริชาร์ด ไฟย์แมน
ใน ปี ค.ศ. 1962 ริชาร์ด ไฟย์แมน ได้ยกแบบจำลองอะตอมให้เป็นแก่นของความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อโลกดังใน ปาฐกถาที่แสดงแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ว่า หากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ถูกทำลายลงทั้งหมดด้วยหายนภัยบางอย่าง และมีเพียงประโยคเดียวเท่านั้นที่สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้ คำกล่าวทีรวมข้อมูลได้มากที่สุดโดยใช้จำนวนคำน้อยที่สุดควรจะเป็นคำกล่าวใด ผมเชื่อว่า คำกล่าวดังกล่าว น่าจะเป็น สมมุติฐานของอะตอม นั่นก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนประกอบดัวยอะตอม |
|||
|
วิทยาศาสตร์วาทะ ดีโมครีตัสกล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างประกอบขึ้นจาก อนุภาคที่เล็กมาก เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ อนุภาคเล็กๆเหล่านี้จะรวมพวกเข้าด้วยกันโดยวิธิการต่างๆ สำหรับอนุภาคเองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถจะแตกแยกออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กลงไปอีกได้ ดีโมครีตัสตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า "อะตอม (Atom)" จากภาษากรีกที่ว่า atoms ซึ่งมีความหมายว่า "ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก" ตามความคิดเห็นของเขา อะตอมเป็นชิ้นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารที่สามารถจะคงอยู่ได้ |
ลอร์ดเคลวิน หรือ วิลเลียม ทอมสัน( Lord Kelvin or William Thomson )
ชื่อ
:
ลอร์ดเคลวิน
หรือ วิลเลียม ทอมสัน( Lord Kelvin or William Thomson
)
เชื้อชาติ
:
ชาวสก็อตมีชีวิตในช่วง : พ.ศ. 2367 - 2450
ผลงานที่สำคัญ : เสนอให้ใช้อุณหภูมิ - 273 องศาเซลเซียส เรียกว่า องศาสัมบูรณ์
ปัจจุบันเราเรียกองศาเคลวิน (K) ( ค่าที่ใช้ในปัจจุบันนี้คือ 0 องศาเคลวิน
= -273.16 องศาเซลเซียส หรือ -459.69 องศาฟาเรนไฮต์)
เสนอทฤษฎีไดนามิกของความร้อน
สร้างเครื่องวัดแบบกระจกเงา
สามารถวางสายเคเบิลใต้น้ำได้สำเร็จ
ประดิษฐ์เข็มทิศ
สร้างเครื่องวัดระดับความลึกของท้องทะเล
ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)
ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) (12 ก.พ. 2351 – 19 เม.ย. 2425)
ชาลส์ ดาร์วิน เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ. เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) ในหนังสือชื่อ "The Origin of Species" (กำเนิดของสรรพชีวิต), ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา การเดินทางออกไปยังท้องทะเลทั่วโลกกับเรือบีเกิล (HMS Beagle) และโดยเฉพาะการเฝ้าสำรวจที่หมู่เกาะกาลาปากอส เป็นทั้งแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งเขานำมาใช้ในทฤษฎีของเขา
ประวัติ
ชาลส์ ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbvery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England) ในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียงครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ บิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน (Robert Waring Darwin) บิดาของดาร์วินต้องการให้เขาศึกษาวิชาแพทย์ เพื่อเป็นแพทย์ แต่ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาไม่ว่าจะวิชาอะไร เขามักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเที่ยวเล่นยิงนก ตกปลาไล่จับแมลงชนิดต่าง ๆ และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ บิดาจึงบังคับให้ดาร์วินเรียนวิชาแพทย์ ถึงแม้ว่าดาร์วินจะไม่ต้องการแต่บิดาของเขาก็ยังบังคับให้ดาร์วินเรียนแพทย์ จนได้ ขณะเดียวกันดาร์วินก็ยังคงศึกษาวิชาต่าง ๆ ที่เขาสนใจต่ออีก 1 ปี
ทางราชนาวีอังกฤษมีโครงการจะออกเดินทางสำรวจสภาพภูมิประเทศ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่มีผู้ใดเคยทำการสำรวจมาก่อน โดยจะใช้เรือหลวงบีเกิ้ล (H.M.S.Beagle) เป็นเรือที่ใช้ในการเดินทางสำรวจ พร้อมกับกับกัปตันวิทซ์รอย (Captain Witzroy) เป็นผู้บังคับการเรือ กัปตันวิทซ์รอยต้องการนักธรรมชาติวิทยาเดินทางไปกับคณะสำรวจครั้งนี้ด้วย กัปตันได้ประกาศรับอาสาสมัครอยู่เป็นเวลานาน แต่ไม่มีผู้ใดสนใจการเดินทางไปกับเรือลำนี้จะต้องออกต่าใช้จ่ายในการเดินทาง ครั้งนี้เองทั้งหมด กัปตันจึงเดินทางไปพบกับศาสตราจารย์เฮนสโลว์ เพื่อขอร้องให้ช่วยหา และศาสตราจารย์เฮนสโลว์จึงนำข่าวนี้มาบอกแก่ดาร์วิน และรับอาสาออกสำรวจดินแดน ทั้งเขาต้องขอค่าใช้จ่ายในการเดินทางในครั้งนี้อีกด้วย แต่พ่อเขาจึงไม่อนุญาตให้เดินทาง ด้วยความเป็นห่วง เขาจึงเดินทางไปหาโจเซียร์ เวดจ์วูด (Josiah Wedgwood) ลุงของเขาจึงไปพูดขอร้องแทนกับพ่อของดาร์วิน ในที่สุดพ่อเขาก็อนุญาตให้ดาร์วินออกเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิ้ลได้
เส้นทางการเดินทางสำรวจของเรือหลวงบีเกิ้ลเรือหลวงบีเกิ้ลออกเดินทางจากท่า เรือเมืองดาเวนพอร์ต (Davenport Harbor) เมืองพลายเมาท์ (Plymount) ประเทศอังกฤษในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1831 โดยแล่นเข้ามหาสมุทรแอตแลนติกเลียบไปตามชายฝั่งทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา โดยเข้าสู่หมู่เกาะคานาร์ ต่อจากนั้นจึงข้างฝั่งไปยังทวีปอเมริกาใต้เข้าสู่ประเทศบราวิลที่เมืองเรซิ เฟ(Recife) ซัลวาดอร์( Salavdor) และริโอเดอ จาเนโร ( Rio de Janeiro) เพื่อสำรวจลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ( Amazon) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้โดยแล่นอ้มไปทางแหลมฮอร์น (Cape Horn) เพื่อเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสำรวจประเทศซิลี ( Chile) เมืองวาลปาเรส (Valparais)
เรือบีเกิ้ลแล่นเรียบชายฝั่งไปจนถึงประเทศเปรู ซึ่งระหว่างทางเรือได้แวะตามเกาะต่าง ๆ มาโดยตลอด เมื่อสำรวจประเทศเปรูเสร็จ เรือบีเกิ้ลออกเดินทางไปยังเกาะตาฮิติ (Tahiti Island) ต่อจากนั้นก็เดินทางสำรวจต่อไปยังตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสู่ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่เกาะแทสมาเนีย (Tasmania Island) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะออสเตรเลีย และเข้าสำรวจประเทศออสเตรเลียในเวลาต่อมา หลังจากเรือได้เดินทางเพื่อเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ผ่านเกาะสุมาตราและชวา เข้าสู่แหลมมะละกา (Malaga Cape) จากนั้นจึงเข้าสู่เกาะมอริเทียส (Mauritius Island) ซึ่งตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย และเดินทางต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงเมืองปอร์ต หลุยส์ (Port Louis) ผ่านแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) เข้าสู่เกาะเซนต์เฮเลนา (St. Helena) และเข้าสู่ประเทศบราซิลอีกครั้งหนึ่ง ที่เมืองเปอร์นัมบูโก ( Pernumbugo) ต่อจากนั้นเรือบีเกิ้ลได้เข้าจอดที่อ่าวเปอร์โต ปาร์ยา (PortoPraya) ในหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Cape de Verd) และแวะที่เมืองอาโซส (Azores) เป็นแห่งสุดท้ายก่อนเข้าจอดเทียบท่าที่เมืองฟอลมัธ (Falmouth) เมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ ใช้เวลาในการเดินทางครั้งนี้ทั้งหมด 5 ปี โดยถึงประเทศอังกฤษในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836
การเดินทางครั้งนี้ดาร์วินต้องเผชิญกับอาการเมาคลื่น และอาการเจ็บป่วยอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในแต่ละวัน และสภาพอากาศที่แตกต่างไปจากที่ดาร์วินคุ้นเคย จากการเดินทางครั้งนี้เขามีโอกาสได้พบเห็นพิช สัตว์สภาพภูมิประเทศที่แปลกตา รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อเรือบีเกิ้ลเดินทางไปถึงหมู่เกาะเคปเวิร์ด และจอดที่ท่าเรือเมืองปราเวีย (Pravia)ดาร์วินได้พบกับพืชเขตร้อน ที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น กล้วยหอม ปาล์ม และต้นมะขาม เป็นต้น อีกทั้งเขายังได้เห็นหินสีขาวที่แข็งมาก และจากการวิเคราะห์ดาร์วินสรุปว่าหินสีขาวนี้เกิดจากซากหอย และปะการังจากทะเล ซึ่งต่อมาถูกลาวาไหลลงมาทับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้หินมีความเข็งมากเป็นพิเศษต่อจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้หินสีขาวดันขึ้นมาอยู่เหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 45 ฟุต
เมื่อดาร์วินกลับบ้านเขาก็ยังหมกหมุ่นอยู่กับการศึกษาแยกหมวดหมู่ ให้กับซากพืช ซากสัตว์ ที่เขาเก็บมา และในปีเดียวกันได้ตีพิมพ์ผลงานของเขาออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า A Naturalist's Voyage Around the World เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพบเห็นมาตลอดระยะเวลา 5 ปี ในการเดินทางสำรวจโลกไปกับเรือบีเกิ้ล
หนังสือเล่มสุดท้ายก่อนที่ดาร์วินจะเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสเตอร์ ผลงานหนังสือที่ตีพิมพ์ของดาร์วินเป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทาง ชีววิทยา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา
ชาลส์ ดาร์วิน เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ. เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) ในหนังสือชื่อ "The Origin of Species" (กำเนิดของสรรพชีวิต), ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา การเดินทางออกไปยังท้องทะเลทั่วโลกกับเรือบีเกิล (HMS Beagle) และโดยเฉพาะการเฝ้าสำรวจที่หมู่เกาะกาลาปากอส เป็นทั้งแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งเขานำมาใช้ในทฤษฎีของเขา
ประวัติ
ชาลส์ ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbvery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England) ในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียงครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ บิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน (Robert Waring Darwin) บิดาของดาร์วินต้องการให้เขาศึกษาวิชาแพทย์ เพื่อเป็นแพทย์ แต่ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาไม่ว่าจะวิชาอะไร เขามักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเที่ยวเล่นยิงนก ตกปลาไล่จับแมลงชนิดต่าง ๆ และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ บิดาจึงบังคับให้ดาร์วินเรียนวิชาแพทย์ ถึงแม้ว่าดาร์วินจะไม่ต้องการแต่บิดาของเขาก็ยังบังคับให้ดาร์วินเรียนแพทย์ จนได้ ขณะเดียวกันดาร์วินก็ยังคงศึกษาวิชาต่าง ๆ ที่เขาสนใจต่ออีก 1 ปี
ทางราชนาวีอังกฤษมีโครงการจะออกเดินทางสำรวจสภาพภูมิประเทศ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่มีผู้ใดเคยทำการสำรวจมาก่อน โดยจะใช้เรือหลวงบีเกิ้ล (H.M.S.Beagle) เป็นเรือที่ใช้ในการเดินทางสำรวจ พร้อมกับกับกัปตันวิทซ์รอย (Captain Witzroy) เป็นผู้บังคับการเรือ กัปตันวิทซ์รอยต้องการนักธรรมชาติวิทยาเดินทางไปกับคณะสำรวจครั้งนี้ด้วย กัปตันได้ประกาศรับอาสาสมัครอยู่เป็นเวลานาน แต่ไม่มีผู้ใดสนใจการเดินทางไปกับเรือลำนี้จะต้องออกต่าใช้จ่ายในการเดินทาง ครั้งนี้เองทั้งหมด กัปตันจึงเดินทางไปพบกับศาสตราจารย์เฮนสโลว์ เพื่อขอร้องให้ช่วยหา และศาสตราจารย์เฮนสโลว์จึงนำข่าวนี้มาบอกแก่ดาร์วิน และรับอาสาออกสำรวจดินแดน ทั้งเขาต้องขอค่าใช้จ่ายในการเดินทางในครั้งนี้อีกด้วย แต่พ่อเขาจึงไม่อนุญาตให้เดินทาง ด้วยความเป็นห่วง เขาจึงเดินทางไปหาโจเซียร์ เวดจ์วูด (Josiah Wedgwood) ลุงของเขาจึงไปพูดขอร้องแทนกับพ่อของดาร์วิน ในที่สุดพ่อเขาก็อนุญาตให้ดาร์วินออกเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิ้ลได้
เส้นทางการเดินทางสำรวจของเรือหลวงบีเกิ้ลเรือหลวงบีเกิ้ลออกเดินทางจากท่า เรือเมืองดาเวนพอร์ต (Davenport Harbor) เมืองพลายเมาท์ (Plymount) ประเทศอังกฤษในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1831 โดยแล่นเข้ามหาสมุทรแอตแลนติกเลียบไปตามชายฝั่งทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา โดยเข้าสู่หมู่เกาะคานาร์ ต่อจากนั้นจึงข้างฝั่งไปยังทวีปอเมริกาใต้เข้าสู่ประเทศบราวิลที่เมืองเรซิ เฟ(Recife) ซัลวาดอร์( Salavdor) และริโอเดอ จาเนโร ( Rio de Janeiro) เพื่อสำรวจลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ( Amazon) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้โดยแล่นอ้มไปทางแหลมฮอร์น (Cape Horn) เพื่อเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสำรวจประเทศซิลี ( Chile) เมืองวาลปาเรส (Valparais)
เรือบีเกิ้ลแล่นเรียบชายฝั่งไปจนถึงประเทศเปรู ซึ่งระหว่างทางเรือได้แวะตามเกาะต่าง ๆ มาโดยตลอด เมื่อสำรวจประเทศเปรูเสร็จ เรือบีเกิ้ลออกเดินทางไปยังเกาะตาฮิติ (Tahiti Island) ต่อจากนั้นก็เดินทางสำรวจต่อไปยังตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสู่ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่เกาะแทสมาเนีย (Tasmania Island) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะออสเตรเลีย และเข้าสำรวจประเทศออสเตรเลียในเวลาต่อมา หลังจากเรือได้เดินทางเพื่อเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ผ่านเกาะสุมาตราและชวา เข้าสู่แหลมมะละกา (Malaga Cape) จากนั้นจึงเข้าสู่เกาะมอริเทียส (Mauritius Island) ซึ่งตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย และเดินทางต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงเมืองปอร์ต หลุยส์ (Port Louis) ผ่านแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) เข้าสู่เกาะเซนต์เฮเลนา (St. Helena) และเข้าสู่ประเทศบราซิลอีกครั้งหนึ่ง ที่เมืองเปอร์นัมบูโก ( Pernumbugo) ต่อจากนั้นเรือบีเกิ้ลได้เข้าจอดที่อ่าวเปอร์โต ปาร์ยา (PortoPraya) ในหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Cape de Verd) และแวะที่เมืองอาโซส (Azores) เป็นแห่งสุดท้ายก่อนเข้าจอดเทียบท่าที่เมืองฟอลมัธ (Falmouth) เมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ ใช้เวลาในการเดินทางครั้งนี้ทั้งหมด 5 ปี โดยถึงประเทศอังกฤษในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836
การเดินทางครั้งนี้ดาร์วินต้องเผชิญกับอาการเมาคลื่น และอาการเจ็บป่วยอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในแต่ละวัน และสภาพอากาศที่แตกต่างไปจากที่ดาร์วินคุ้นเคย จากการเดินทางครั้งนี้เขามีโอกาสได้พบเห็นพิช สัตว์สภาพภูมิประเทศที่แปลกตา รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อเรือบีเกิ้ลเดินทางไปถึงหมู่เกาะเคปเวิร์ด และจอดที่ท่าเรือเมืองปราเวีย (Pravia)ดาร์วินได้พบกับพืชเขตร้อน ที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น กล้วยหอม ปาล์ม และต้นมะขาม เป็นต้น อีกทั้งเขายังได้เห็นหินสีขาวที่แข็งมาก และจากการวิเคราะห์ดาร์วินสรุปว่าหินสีขาวนี้เกิดจากซากหอย และปะการังจากทะเล ซึ่งต่อมาถูกลาวาไหลลงมาทับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้หินมีความเข็งมากเป็นพิเศษต่อจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้หินสีขาวดันขึ้นมาอยู่เหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 45 ฟุต
เมื่อดาร์วินกลับบ้านเขาก็ยังหมกหมุ่นอยู่กับการศึกษาแยกหมวดหมู่ ให้กับซากพืช ซากสัตว์ ที่เขาเก็บมา และในปีเดียวกันได้ตีพิมพ์ผลงานของเขาออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า A Naturalist's Voyage Around the World เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพบเห็นมาตลอดระยะเวลา 5 ปี ในการเดินทางสำรวจโลกไปกับเรือบีเกิ้ล
หนังสือเล่มสุดท้ายก่อนที่ดาร์วินจะเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสเตอร์ ผลงานหนังสือที่ตีพิมพ์ของดาร์วินเป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทาง ชีววิทยา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)