วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)

ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) (12 ก.พ. 2351 – 19 เม.ย. 2425)
          ชาลส์ ดาร์วิน เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ. เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) ในหนังสือชื่อ "The Origin of Species" (กำเนิดของสรรพชีวิต), ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา การเดินทางออกไปยังท้องทะเลทั่วโลกกับเรือบีเกิล (HMS Beagle) และโดยเฉพาะการเฝ้าสำรวจที่หมู่เกาะกาลาปากอส เป็นทั้งแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งเขานำมาใช้ในทฤษฎีของเขา

ชาลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยา

ชาลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยา
ประวัติ
          ชาลส์ ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbvery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England) ในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียงครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ บิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน (Robert Waring Darwin) บิดาของดาร์วินต้องการให้เขาศึกษาวิชาแพทย์ เพื่อเป็นแพทย์ แต่ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาไม่ว่าจะวิชาอะไร เขามักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเที่ยวเล่นยิงนก ตกปลาไล่จับแมลงชนิดต่าง ๆ และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ บิดาจึงบังคับให้ดาร์วินเรียนวิชาแพทย์ ถึงแม้ว่าดาร์วินจะไม่ต้องการแต่บิดาของเขาก็ยังบังคับให้ดาร์วินเรียนแพทย์ จนได้ ขณะเดียวกันดาร์วินก็ยังคงศึกษาวิชาต่าง ๆ ที่เขาสนใจต่ออีก 1 ปี

          ทางราชนาวีอังกฤษมีโครงการจะออกเดินทางสำรวจสภาพภูมิประเทศ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่มีผู้ใดเคยทำการสำรวจมาก่อน โดยจะใช้เรือหลวงบีเกิ้ล (H.M.S.Beagle) เป็นเรือที่ใช้ในการเดินทางสำรวจ พร้อมกับกับกัปตันวิทซ์รอย (Captain Witzroy) เป็นผู้บังคับการเรือ กัปตันวิทซ์รอยต้องการนักธรรมชาติวิทยาเดินทางไปกับคณะสำรวจครั้งนี้ด้วย กัปตันได้ประกาศรับอาสาสมัครอยู่เป็นเวลานาน แต่ไม่มีผู้ใดสนใจการเดินทางไปกับเรือลำนี้จะต้องออกต่าใช้จ่ายในการเดินทาง ครั้งนี้เองทั้งหมด กัปตันจึงเดินทางไปพบกับศาสตราจารย์เฮนสโลว์ เพื่อขอร้องให้ช่วยหา และศาสตราจารย์เฮนสโลว์จึงนำข่าวนี้มาบอกแก่ดาร์วิน และรับอาสาออกสำรวจดินแดน ทั้งเขาต้องขอค่าใช้จ่ายในการเดินทางในครั้งนี้อีกด้วย แต่พ่อเขาจึงไม่อนุญาตให้เดินทาง ด้วยความเป็นห่วง เขาจึงเดินทางไปหาโจเซียร์ เวดจ์วูด (Josiah Wedgwood) ลุงของเขาจึงไปพูดขอร้องแทนกับพ่อของดาร์วิน ในที่สุดพ่อเขาก็อนุญาตให้ดาร์วินออกเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิ้ลได้

          เส้นทางการเดินทางสำรวจของเรือหลวงบีเกิ้ลเรือหลวงบีเกิ้ลออกเดินทางจากท่า เรือเมืองดาเวนพอร์ต (Davenport Harbor) เมืองพลายเมาท์ (Plymount) ประเทศอังกฤษในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1831 โดยแล่นเข้ามหาสมุทรแอตแลนติกเลียบไปตามชายฝั่งทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา โดยเข้าสู่หมู่เกาะคานาร์ ต่อจากนั้นจึงข้างฝั่งไปยังทวีปอเมริกาใต้เข้าสู่ประเทศบราวิลที่เมืองเรซิ เฟ(Recife) ซัลวาดอร์( Salavdor) และริโอเดอ จาเนโร ( Rio de Janeiro) เพื่อสำรวจลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ( Amazon) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้โดยแล่นอ้มไปทางแหลมฮอร์น (Cape Horn) เพื่อเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสำรวจประเทศซิลี ( Chile) เมืองวาลปาเรส (Valparais)  

เส้นทางการเดินทางสำรวจของเรือหลวงบีเกิ้ล

เส้นทางการเดินทางสำรวจของเรือหลวงบีเกิ้ล

          เรือบีเกิ้ลแล่นเรียบชายฝั่งไปจนถึงประเทศเปรู ซึ่งระหว่างทางเรือได้แวะตามเกาะต่าง ๆ มาโดยตลอด เมื่อสำรวจประเทศเปรูเสร็จ เรือบีเกิ้ลออกเดินทางไปยังเกาะตาฮิติ (Tahiti Island) ต่อจากนั้นก็เดินทางสำรวจต่อไปยังตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสู่ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่เกาะแทสมาเนีย (Tasmania Island) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะออสเตรเลีย และเข้าสำรวจประเทศออสเตรเลียในเวลาต่อมา หลังจากเรือได้เดินทางเพื่อเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ผ่านเกาะสุมาตราและชวา เข้าสู่แหลมมะละกา (Malaga Cape) จากนั้นจึงเข้าสู่เกาะมอริเทียส (Mauritius Island) ซึ่งตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย และเดินทางต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงเมืองปอร์ต หลุยส์ (Port Louis) ผ่านแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) เข้าสู่เกาะเซนต์เฮเลนา (St. Helena) และเข้าสู่ประเทศบราซิลอีกครั้งหนึ่ง ที่เมืองเปอร์นัมบูโก ( Pernumbugo) ต่อจากนั้นเรือบีเกิ้ลได้เข้าจอดที่อ่าวเปอร์โต ปาร์ยา (PortoPraya) ในหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Cape de Verd) และแวะที่เมืองอาโซส (Azores) เป็นแห่งสุดท้ายก่อนเข้าจอดเทียบท่าที่เมืองฟอลมัธ (Falmouth) เมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ ใช้เวลาในการเดินทางครั้งนี้ทั้งหมด 5 ปี โดยถึงประเทศอังกฤษในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836

          การเดินทางครั้งนี้ดาร์วินต้องเผชิญกับอาการเมาคลื่น และอาการเจ็บป่วยอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในแต่ละวัน และสภาพอากาศที่แตกต่างไปจากที่ดาร์วินคุ้นเคย จากการเดินทางครั้งนี้เขามีโอกาสได้พบเห็นพิช สัตว์สภาพภูมิประเทศที่แปลกตา รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อเรือบีเกิ้ลเดินทางไปถึงหมู่เกาะเคปเวิร์ด และจอดที่ท่าเรือเมืองปราเวีย (Pravia)ดาร์วินได้พบกับพืชเขตร้อน ที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น กล้วยหอม ปาล์ม และต้นมะขาม เป็นต้น อีกทั้งเขายังได้เห็นหินสีขาวที่แข็งมาก และจากการวิเคราะห์ดาร์วินสรุปว่าหินสีขาวนี้เกิดจากซากหอย และปะการังจากทะเล ซึ่งต่อมาถูกลาวาไหลลงมาทับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้หินมีความเข็งมากเป็นพิเศษต่อจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้หินสีขาวดันขึ้นมาอยู่เหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 45 ฟุต
          เมื่อดาร์วินกลับบ้านเขาก็ยังหมกหมุ่นอยู่กับการศึกษาแยกหมวดหมู่ ให้กับซากพืช ซากสัตว์ ที่เขาเก็บมา และในปีเดียวกันได้ตีพิมพ์ผลงานของเขาออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า A Naturalist's Voyage Around the World เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพบเห็นมาตลอดระยะเวลา 5 ปี ในการเดินทางสำรวจโลกไปกับเรือบีเกิ้ล
          หนังสือเล่มสุดท้ายก่อนที่ดาร์วินจะเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสเตอร์ ผลงานหนังสือที่ตีพิมพ์ของดาร์วินเป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทาง ชีววิทยา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น