วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin)

http://อนุตตรธรรม.com/wp-content/uploads/2011/01/v11.png
ประวัติ : รัฐบุรุษ  นักเขียน  และนักวิทยาศาสตร์  เกิด ค.ศ. 1706  ที่เมือบอสตัน  รัฐแมสซาจูเซตส์  สหรัฐอเมริกา  ตาย  ค.ศ.  1790  รวมอายุ  84  ปี
เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2249 ที่กรุงบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America) เป็นลูกคนที่ 15 จากพี่น้องทั้งหมด 17 คน พ่อของเขาเป็นช่างทำสบู่และเทียนไข เป็นผู้ลี้ภัยทางศาสนา มาจากประเทศอังกฤษ ด้วยครอบครัวมีฐานะยากจน เบนจามินจึงมีโอกาสเรียนหนังสือ ที่โรงเรียนใกล้บ้าน เพียงแค่ 2 ปี ก็ต้องลาออก เพื่อมาช่วยกิจการของครอบครัว
เนื่องจากชอบงานด้านหนังสือ พออายุได้ 12 ปี เบนจามินจึงถูกส่งไปอยู่กับเจมส์ แฟรงคลิน (James Franklin) พี่ชายคนโตของเขา ซึ่งทำกิจการโรงพิมพ์นิว อิงแลนด์ เคอร์เรนท์ (New England Current) โดยได้ฝึกงานในตำแหน่งช่างพิมพ์ และฝึกเขียนบทความด้วย แต่ต่อมาต้องลาออก เพราะเบนจามินได้นำงานเขียนของเขา ไปใส่รวมไว้กับงานของนักเขียนคนอื่น เมื่อเจมส์ได้อ่านก็รู้สึกชอบ และตีพิมพ์ โดยไม่รู้ว่าเป็นผลงานของใคร แต่หลังจากที่งานชิ้นนี้เผยแพร่ออกไป จนกลายเป็นที่นิยมของชาวเมือง เบนจามินจึงบอกความจริงกับพี่ชาย ทำให้เจมส์โกรธมาก และไม่ลงยอมลงเรื่องของเขาอีก
หลังจากนั้นเบนจามิน จึงมาอยู่ที่เมืองฟิลลาเดเฟีย (Philadelphia) เพื่อเปิดกิจการโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง โดยเริ่มต้นจากการตีพิมพ์หนังสือ เกี่ยวกับข่าวสารและความรู้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงเปลี่ยนมาพิมพ์ หนังสือประเภทปฏิทินพิสดาร (Almanac) ใช้ชื่อว่า Poor Richard โดยเขาเป็นผู้เขียนบทความ ลงในหนังสือเองด้วยนามปากกา Richard Sander
นอกจากนี้เบนจามิน ยังได้พิมพ์หนังสือพิมพ์ ซึ่งใช้ชื่อว่า เพนน์ซิลวาเนีย กาเซท (Pennsylvania Gazette) จนกลายเป็นหนังสือ ที่ได้รับความนิยมมาก หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และไปที่อังกฤษ เพื่อศึกษางานพิมพ์ ทำให้โรงพิมพ์ของเขา ที่สหรัฐมีความมั่นคงมากขึ้น
เมื่อกิจการดำเนินไปได้ด้วยดี เขาจึงหันมาทำงานเพื่อสังคมบ้าง ด้วยการจัดตั้งห้องสมุดสาธารณะในเมือง และเล่นการเมือง ระหว่างนั้นเอง ที่ทำให้เขามีโอกาสเดินทางไปยังประเทศต่างๆ จนกระทั่งได้พบกับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทำการทดลองเกี่ยวกับประกายไฟฟ้า เบนจามินจึงเกิดความสนใจ เรื่องปรากฎการณ์ ทางธรรมชาติของฟ้าแลบ ฟ้าผ่าและฟ้าร้องขึ้นมา
โดยเขาได้สันนิษฐานการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ว่าน่าจะเกิดจากประจุไฟฟ้าบนท้องฟ้า เบนจามิน จึงทำการทดลองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2292 โดยใช้ว่าวที่ทำด้วยผ้าแพรแทนกระดาษ ที่มีเหล็กแหลมติดอยู่ที่ตัวว่าว ส่วนปลายสายป่านผูกลูกกุญแจไว้ และผูกริบบิ้นไว้กับสายป่านอีกทีหนึ่ง ทำให้ว่าวของเขากลายเป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อมีฝนตกทำให้สายผ่านเปียก ปรากฎว่ามีประจุไฟฟ้า ไหลลงมาทางเชือกเข้าสู่ลูกกุญแจ แต่เขาไม่ได้รับอันตราย เนื่องจากจับริบบิ้น ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าไว้ จากผลการทดลอง สามารถสรุปได้ว่า เกิดขึ้นจากประจุไฟฟ้าบนท้องฟ้า ที่เกิดจากการเสียดสี ระหว่างก้อนเมฆกับอากาศ ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต
หลังจาการค้นพบประจุไฟฟ้าในอากาศ เมื่อปี พ.ศ.2295 แฟรงคลินจึงประดิษฐ์สายล่อฟ้าขึ้น สำเร็จเป็นครั้งแรก เพื่อระบายประจุไฟฟ้าในอากาศบนหลังคา ซึ่งการตั้งสายล่อฟ้าบนหลังคา คนมักเรียกกันติดปากว่า Franklin's Rod โดยเขาไม่ได้นำผลงานชิ้นนี้ไปจดสิทธิบัตร เพราะต้องการให้ทุกคนสามารถทำใช้กันเองได้ และจากผลงานสายล่อฟ้า ทำให้เขาได้รับเชิญ ให้เป็นสมาชิกของราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London)
นอกจากนี้เบนจามิน ยังมีผลงานมากมาย ทั้งการเป็นนักเขียน นักการทูต นักการเมือง และนักหนังสือพิมพ์ จนได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเขาเป็นผู้หนึ่ง ที่ทำให้ประเทศหลุดพ้น จากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และยังเป็นผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพอีกด้วย รวมทั้งยังเป็นผู้หนึ่ง ที่ได้ลงนามในสัญญาสันติภาพ ถึงแม้ว่าเขา จะไม่ได้รับตำแหน่งสำคัญทางการเมือง แต่เขาก็ยังเป็นบุคคลสำคัญ ของสหรัฐอเมริกาคนหนึ่ง
 
อีกทั้งเบนจามิน ยังมีความรอบรู้ เรื่องการเกษตร โดยเป็นคนแรก ที่นำวิธีการโรยปูนขาว แก้ความเป็นกรดของดิน มาแนะนำให้กับเกษตรกร
ภายหลังจากการเสียชีวิตในปี พ.ศ.2333 ทรัพย์สินของเขาส่วนหนึ่ง ได้ถูกนำไปสร้างสาธารณประโยชน์ เช่น โรงเรียน บ้านเรือนในบอสตัน และฟิลลาเดเฟีย รวมทั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แฟรงคลิน (Franklin Institute Science Museum) และในปี พ.ศ.2443 เขาได้รับการยกย่อง จากสถาบันแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ในฐานะบุคคลผู้สร้างคุณประโยชน์ ให้กับบ้านเมือง 
 
ผลงานที่สำคัญ : ศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับไฟฟ้า ในอากาศ  พบประจุไฟฟ้า ในอากาศ และพบว่าไฟฟ้าในอากาศ ทำให้เกิดฟ้าแลบ  ฟ้าร้อง  ฟ้าผ่า  เป็นผู้แนะนำให้รู้จักใช้สายล่อฟ้า ป้องกันฟ้าผ่า 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น